วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วย Nero Express


การเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วย Nero Express
การใช้งานโปรแกรมนี้จะต่างจาก Nero Burning Rom ที่การทำงาน เน้นให้ง่าย สะดวก จึง เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มหัดเขียนซีดีหรือดีวีดี เมื่อซื้อเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี ส่วนใหญ่ก็จะแถม โปรแกรม Nero Express มาด้วย ความสามารถไม่เทียบเท่า จะไม่ครบครันเหมือน Nero Burning Rom ก็เป็นการยั่วยวนใจผู้ใช้ ถ้าต้องการเวอร์ชันเต็มๆ ประสิทธิภาพเต็มๆ ก็ต้องควักเงินเพิ่ม
หน้าจอและส่วนประกอบต่างๆ
แต่ละเวอร์ชันหน้าตาจะแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับตัวไรเตอร์ในเครื่อง ถ้าเป็นเครื่อง ที่มี เครื่องเขียนซีดีอย่างเดียว ก็จะมีเฉพาะคำสั่งเกี่ยวกับการเขียนซีดี แต่ถ้ามีเครื่องเขียนดีวีดีด้วยก็จะมี คำสั่งสำหรับเขียนข้อมูลลงแผ่นดีวีดีดังตัวอย่าง
1. Switch to Nero Burning Rom สับเปลี่ยนหน้าจอไปยังโปรแกรม Nero Burning ROM
2. Options ตัวเลือกสำหรับการกำหนดเพิ่มเติมในการใช้งานโปรแกรม
3. Copy Audio CD Tracks ก็อปปี้เพลงในแผ่นซีดีเพลงเป็นไฟล์แบบ Wav, Mp3, Mp4
4. Erase Disc ลบข้อมูลในแผ่นแบบ CD-RW หรือ DVD-/+RW
5. Disc Info แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดิสก์
6. Create Covers and Labels ออกแบบปกซีดี ดีวีดี
7. Select the Recorder to burn on เลือกเครื่องเขียนที่ต้องการ กรณีมีมากกว่าหนึ่งตัว
8. Use Nero Image Recorder เรียกใช้งานโปรแกรมสร้างอิมเมจไฟล์
9. ปุ่มย่อคำสั่งเก็บไว้
10. ปุ่มซ่อน/แสดงคำสั่ง
11. Data เขียนซีดีข้อมูล
12. Music เขียนแผ่นซีดีเพลง เกี่ยวกับเสียง
13. Videos/Pictures ตัวเลือกเกี่ยวกับการเขียนแผ่นวีดีโอซีดีหรือดีวีดี
14. Image, Project, Copy ตัวเลือกสำหรับการสร้างไฟล์อิมเมจ การคัดลอกข้อมูลในแผ่น ซีดีหรือดีวีดี
การเขียนซีดีข้อมูล
เป็นการเขียนข้อมูลลงเก็บไว้ในแผ่นซีดี ข้อมูลที่เขียนลงแผ่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นรูปภาพ เพลง วิดีโอ
1. ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในช่องอ่านซีดีรอมไดรว์
2. คลิกที่ Data>>Data CD
3. คลิกปุ่ม Add
4. คลิกเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ การเลือกก็คลิกไฟล์แรก กดปุ่ม Shift ค้างไว้ คลิกไฟล์สุดท้าย เลือกครบแล้วปล่อยปุ่ม Shift จากนั้นคลิกปุ่ม Add
5. เลือกครบแล้วและไม่ต้องการเพิ่มไฟล์ใดๆ เข้าไปอีก ก็คลิกปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบข้อความ
6. ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามา จะแสดงในส่วนนี้ การเพิ่มเข้ามาก็อย่าให้เกินขีดแดง ไม่เช่นนั้นจะเขียน ลงแผ่นไม่ได้
7. ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามา ถ้าต้องการลบออก ไม่นำไปเขียนลงแผ่น ให้คลิกเลือกชื่อไฟล์เช่น 06 Track 6.wma แล้วคลิกปุ่ม Delete การลบแบบนี้ ไม่ได้ทำให้ข้อมูลจริงๆ ถูกลบออกไปจากเครื่อง เพียงแค่ลบรายชื่อออกไป ไม่ต้องเขียนลงแผ่นซีดี
8. ถ้าข้อมูลนั้นๆ เป็นไฟล์เสียง ไฟล์วิดีโอ ก็จะสามารถคลิกปุ่ม Play เพื่อเล่นไฟล์ได้
9. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำงานต่อ
?
10. คลิกช่อง Disc name แล้วพิมพ์ชื่อแผ่นลงไป
11. ช่อง Current recorder ให้คลิกเลือกไดรว์ที่จะใช้เขียนแผ่น กรณีที่ในเครื่องมีมากกว่า หนึ่งไดรว์
12. ตัวเลือกอื่นๆ Verify data on disc after burning เป็นการตรวจข้อมูลภายหลังจากเขียน เสร็จแล้ว ไม่ต้องคลิกเลือกก็ได้
13. ตัวเลือก Allow files to be added later (multisession disc) เป็นการเขียนแบบมิลติ เซสชั่น ถ้าแผ่นนั้นๆ ไม่ต้องการเขียนข้อมูลเพิ่มลงไปอีกก็ไม่ต้องคลิกติ๊กถูก ก็เลือกตามตัวอย่างก่อน
14. คลิกปุ่มแสดงตัวเลือกให้กำหนดค่าเพิ่มเติม
15. คลิกเลือกความเร็วในการเขียน (Writing speed)
16. คลิกเลือกลักษณะการเขียน (Write Method) ตามตัวอย่าง
17. ตัวเลือกอื่นๆ
Determine maximun speed ให้ทำการวัดความเร็วในการเขียนที่เครื่องสามารถทำได้ แล้วใช้ค่านั้นกำหนดเป็นความเร็วในการเขียนข้อมูลลงแผ่น อาจทดลองทำในการเขียนครั้งแรก ครั้งต่อๆ ไปก็ไม่ต้อง เช่นถ้าเครื่องตรวจแล้วแจ้งว่าเครื่องนี้สามารถเขียนข้อมูลได้ที่ความเร็วกี่ X คราวหน้าในส่วน Writing speed ก็กำหนดค่าลงไปเลย ไม่ต้องคลิกเลือกตัวเลือกนี้ แม้ว่าเครื่องส่วนใหญ่จะใช้เครื่องเขียน ซีดีที่ระบุความเร็วในการเขียนได้ค่อนข้างสูง แต่ในการใช้งานจริงๆ กลับไม่สามารถทำอย่างนั้นได้
Simulation ให้ทดสอบการเขียนแบบจำลองดูก่อน ถ้าผ่านก็จัดการเขียนข้อมูลลงแผ่นจริงๆ ข้อดีโอกาสที่แผ่นจะเสียมีน้อยกว่า แต่ต้องเสียเวลากับการจำลองการเขียนแผ่น อาจทดลองทำในการ เขียนครั้งแรก ครั้งต่อๆ ไปก็ไม่ต้อง ถ้าในครั้งแรกผ่านไปด้วยดี
Write ให้เขียนข้อมูลลงแผ่น ต้องคลิกเลือก โดยติ๊กถูก
18. คลิกปุ่ม Burn เพื่อเริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น
19. จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น
20. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
21. คลิกปุ่ม Next
22. จะปรากฏตัวเลือกต่างๆ Burn same project again ถ้าต้องการเขียนซีดี อีกครั้ง ก็ คลิกเลือกคำสั่งนี้ เพื่อเขียนข้อมูลชุดเดิมลงแผ่นซีดีแผ่นอื่นๆ ต่อไป
23. New project ถ้าต้องการเขียนข้อมูลชุดใหม่ลงแผ่น ก็คลิกคำสั่งนี้
24. ต้องการทำปกซีดี ก็คลิกที่ Cover Designer เพื่อเข้าโปรแกรมออกแบบปกซีดี
25. ต้องการบันทึกงานนี้เก็บไว้ เผื่อวันหน้าอยากจะเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีอีกครั้ง ก็เปิดงาน ขึ้นมาแล้วก็เขียนลงแผ่นอีกครั้ง ในที่นี้จะเลือกคำสั่งนี้ บันทึกงานเก็บไว้
26. แต่ถ้าไม่ต้องการบันทึกงานไว้ ก็คลิกปุ่ม Close ปิดหน้าจอได้เลย
27. จะปรากฏกรอบข้อความให้ตั้งชื่อไฟล์ เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม Save
28. ในคราวหน้าถ้าต้องการเปิดงานที่ได้บันทึกไว้ เปิดขึ้นมาแล้วเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีอีกครั้ง ก็คลิกที่คำสั่ง Image, Project, Copy>>Disc Image or Saved Project
29. คลิกเลือกไฟล์งานที่ต้องการเช่น mydata แล้วคลิกปุ่ม Open
30. จากนั้นก็จัดการเขียนซีดีได้ตามต้องการ
?

การเขียนแผ่นซีดีเพลง

ลักษณะของแผ่นซีดีเพลงในที่นี้ผู้เขียนขอแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามที่นิยมใช้กัน
1. แผ่นออดิโอซีดี เป็นรูปแบบของแผ่นซีดีเพลง ที่พบเห็นกันทั่วไป เช่นของพี่เบิร์ด เสก โลโซ ฯลฯ แผ่นหนึ่งก็จะมีประมาณ 10-20 เพลง แล้วแต่ว่าศิลปินท่านนั้นๆ คุณภาพจะคับแผ่นแค่ไหน คับมาก ก็ให้เพลงมาเยอะ เครื่องเสียงส่วนใหญ่สามารถเล่นไฟล์เสียงแบบนี้ได้
2. แผ่นซีดีเพลง MP3 เป็นแผ่นที่รวมหลายๆ เพลงในแผ่นเดียว ส่วนใหญ่จะทำไว้ฟังในรถ ไม่เช่นนั้นก็ต้องพกแผ่นค่อนข้างเยอะ
3. แผ่นซีดีเพลง Wma ในแผ่นหนึ่งก็จะเก็บเพลงได้มากพอๆ กันแผ่นซีดีเพลงแบบ MP3 แต่การจะสร้างแผ่นแบบนี้ก็ต้องดูว่าเครื่องเล่นของเรารองรับการเล่นไฟล์เพลงแบบนี้หรือไม่
4. แผ่นซีดีรวมเพลงแบบ MP4 อาจจะมีทั้งภาพและเสียง แต่ส่วนใหญ่จะไว้ดูในคอมพิวเตอร์ กันมากกว่า หรือไม่ก็ไว้เล่นบนมือถือ พีดีเอ

การเขียนซีดีรวมเพลง MP3

ลักษณะการเขียนซีดีเพลงแบบนี้จะคล้ายกับการเขียนแผ่นซีดีข้อมูล เพียงแต่ที่จับใส่แผ่นก็คือ ไฟล์ข้อมูลชนิด MP3 อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผ่นซีดีรวมเพลงแบบ อื่นๆ ได้เช่นกัน เช่นแผ่นรวมเพลง WMA หรือรวมเพลง MP4 หลักการคล้ายกัน ถ้าเครื่องเล่นสามารถ เล่นได้ทั้ง MP3, Wma, และ MP4 ก็จับไฟล์เพลงทั้ง 3 ประเภทไว้ในแผ่นเดียวกันเลยก็ได้
1. จัดการก็อปปี้เพลง MP3 ไปไว้ในโฟลเดอร์ TempCDRW ให้เรียบร้อย โดยคลิกปุ่มขวาที่ชื่อ เพลง แล้วคลิกที่ Send To>>TempCDRW
2. จัดการสร้างโฟลเดอร์ย่อย เพื่อแยกเก็บเพลงให้เรียบร้อย อาจแยกเก็บตามชื่อนักร้องก็ได้ เพื่อความสะดวกในการฟัง เพราะสามารถกดเลือกเพลงได้ง่ายกว่า
3. อย่าเก็บรวมๆ กันแบบนี้ การเลือกเพลงที่จะฟัง จะค้นหาได้ยากมาก
4. เข้าโปรแกรม Nero Express
5. คลิกที่ Data>>DataCD
6. คลิกปุ่ม Add
7. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บเพลงไว้ ก็คือ TempCDRW เลือกเพลง แล้วคลิกปุ่ม Add
8. เลือกครบแล้วคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบข้อความ
9. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำงานต่อ
?
10. กำหนดค่าในการเขียนซีดีตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Burn
11. การกำหนดค่าในการเขียนซีดี กำหนดตามตัวอย่างก็ได้ แต่ความเร็วในการเขียนอาจปรับค่า มากน้อย แล้วแต่ความแรงของเครื่อง ช่อง Disc name ตั้งชื่อตามใจชอบ ตัวเลือก Verify... และ Allow files ... ไม่ต้องคลิกเลือก
12. การเขียนซีดีรวมเพลงแบบ WMA และ MP4 ก็ปฏิบัติคล้ายกันกับการเขียนซีดีรวมเพลง MP3

การเขียนซีดีเพลงแบบออดิโอซีดี

การเขียนซีดีเพลงในลักษณะนี้ อาจแยกเป็นสองกรณี
1. นำไฟล์เพลง MP3 ที่มีอยู่แล้วในเครื่องไปเขียนเป็นออดิโอซีดี วิธีนี้สะดวกกว่า เพราะหา เพลงได้ง่ายกว่า เพราะเพลง MP3 มีขายกันเกลื่อน ตามตลาดสดก็ยังหาซื้อได้เลย
2. ก็อปปี้เพลงจากแผ่นซีดีเพลง แล้วเขียนลงซีดีแผ่นใหม่ ต้องยอมรับว่าในแต่ละอัลบัม จะมี เพลงเพราะๆ ไม่กี่เพลงเท่านั้น เผลอๆ เพราะอยู่เพลงเดียวก็มี ก็จัดการก็อปปี้มารวมไว้ด้วยกันเสียเลย ไม่ต้องพกพาหลายแผ่น วิธีนี้ยุ่งยากกว่าการใช้ไฟล์เพลง MP3
ตัวอย่างการเขียนแผ่นซีดีเพลงแบบออดิโอ
ก่อนอื่นก็รวบรวมเพลงแบบ MP3 หรือ Wma หรือ MP4 แผ่นหนึ่งก็เก็บได้ประมาณ 16-20 เพลง
1. แล้วก็เข้าโปรแกรม Nero Express คลิกคำสั่ง Music>>Audio CD

2. คลิกปุ่ม Add แล้วคลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ได้เก็บไฟล์เพลงไว้
3. เลือกไฟล์เพลงที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Add
4. เลือกครบแล้ว ก็คลิกปุ่ม Close
5. สามารถทดลองฟังเพลงที่ต้องการได้ โดยคลิกชื่อเพลง แล้วคลิกปุ่ม Play
6. คลิกติ๊กถูก Normalize all audio files เพื่อปรับให้ทุกเพลง มีเสียงในระดับเดียวกัน
7. No pause between tracks ถ้าต้องการให้เล่นเพลงอย่างต่อเนื่อง เล่นเพลงแรกจบก็เล่น เพลงที่สองต่อทันที ก็คลิกติ๊กถูก คำสั่งนี้
8. ชื่อเพลงสามารถเรียงลำดับก่อนหลังได้ โดยลากชื่อเพลงขึ้นข้างบนหรือลงด้านล่าง
9. การกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติม ให้เลือกเพลงทั้งหมดก่อน (หรือจะคลิกเลือกเฉพาะ เพลงที่ต้องการก็ได้) โดยคลิกเพลงแรก กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วคลิกเพลงสุดท้าย เพื่อสร้างแถบสี เป็นการเลือกเพลง
10. คลิกปุ่ม Properties
11. ในแท็ป Track Properties เป็นการกำหนดคุณสมบัติให้เพลง เช่น
Title ชื่ออัลบัม
Artist ชื่อนักร้อง
Pause ระยะเวลาที่ต้องการให้หยุดหลังจากเล่นจบแล้ว จากตัวอย่างจะหยุดก่อน 2 วินาที แล้ว จึงเริ่มเล่นเพลงถัดไป
12. ในกรณีที่คลิกเลือกเพื่อกำหนดค่าทีละเพลง ในข้อที่ 9 คลิกเลือกเพลงเดียวแล้วคลิกปุ่ม Properties ก็จะปรากฏกรอบข้อความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ในช่อง Title ก็พิมพ์ชื่อเพลงลงไป ส่วน Artist ก็พิมพ์ชื่อนักร้องหรือชื่ออัลบัม
13. คลิกแท็ป Indexes, Limits, Split ในส่วนนี้จะยอมให้เราตัดแบ่งบางส่วนของเพลง แยกเป็นแทรกๆ ได้ วิธีนี้จะเหมาะสำหรับเพลงที่มีความยาวมากๆ การแบ่งเป็นช่วงๆ จะช่วยให้สะดวก ในการเลือกฟังเฉพาะส่วนที่ต้องการ ถ้าจะทำแบบนี้เหมาะจะใชักับบทบรรยายมากกว่า การตัดแบ่งเพลง ดูจะเป็นเรื่องที่ทำให้เสียอารมณ์เพราะเพลงไม่ต่อเนื่อง ควรทำแบบนี้กับแผ่นที่เป็นบทพูดจะดีกว่า เพราะ จะสะดวกในการย้อนไปฟังส่วนต่างๆ ได้ ไม่อย่างนั้นก็ต้องฟังใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ต้น
14. การตัดก็คลิกตำแหน่งที่ต้องการ อาจทดลองฟังเสียงโดยคลิกปุ่ม Play
15. คลิกปุ่ม New Index แล้วคลิก Split
16. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
17. การลบ Index ก็คลิกเลือกในช่อง Position แล้วก็คลิกปุ่ม Delete
18. คลิกแท็ป Filters
19. คลิกติ๊กถูกเลือกฟิลเตอร์ที่ต้องการ สามารถทดสอบการทำงานได้โดยคลิกปุ่ม Test Selected Filters เช่น Karaoke เป็นฟิลเตอร์ที่ช่วยลดเสียงร้องให้เบาลง เหมาะสำหรับทำแผ่นคาราโอเกะ ไว้ร้องเอง
20. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
21. เพลงใดที่ได้แบ่งหรือ Split ไว้ ก็จะถูกแยกมากกว่าหนึ่งแทร็ค คลิก Play ลองฟังได้
22. ถ้ามีเพลงใดที่ไม่ต้องการ อยากจะลบออกก็คลิกชื่อเพลงแล้วคลิกปุ่ม Delete
23. พร้อมจะเขียนลงแผ่นแล้วก็คลิกปุ่ม Next
?
24. พิมพ์รายละเอียดอื่นๆ ลงไป เช่น Title พิมพ์ชื่ออัลบัมลงไปก็ได้
25. Artist ก็พิมพ์ชื่อนักร้อง
26. จำนวนก็อปปี้ต้องการกี่ชุดก็พิมพ์ลงไป
27. ความเร็วในการเขียนแผ่นซีดี แนะนำให้เลือกน้อยๆ ดูก่อน เพราะการเขียนซีดีแบบนี้ จะใช้การบีบอัดสูง เสียงเพลงอาจกระตุกได้ แต่ซีดีไรเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะไม่ค่อยมีปัญหา อาจกำหนดไว้ไม่เกิน 16x แล้วลองเขียนดูก่อน แล้วก็ค่อยขยับไปที่ความเร็วสูงกว่านั้น เอาแผ่นที่ได้ไป ลองเล่น ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่
28. Write Method คลิกเลือก Disc-at-once
29. ใส่แผ่นซีดีเข้าไปให้เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนซีดีได้เลย

การเขียนแผ่นวีดีโอซีดี

รวมไฟล์วิดีโอเขียนเป็นวีซีดีส่วนตัว
เป็นการนำไฟล์วิดีโอที่มีอยู่ นำมาเขียนลงแผ่นซีดีทำเป็นวีซีดีส่วนตัว
1. คลิกที่ Video/Picture
2. คลิกปุ่ม Add
3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์วิดีโอ เช่น จากตัวอย่างเก็บไว้ใน TempCDRW
4. คลิกเลือกไฟล์วีดีโอที่ต้องการ
5. เลือกครบแล้วคลิกปุ่ม Add
6. คลิกปุ่ม OK เพื่อเข้ารหัสให้ได้มาตรฐานการทำวีซีดี สำหรับวิดีโอบางไฟล์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
7. เพิ่มครบแล้วก็คลิกปุ่ม Close
8. ไฟล์วิดีโอที่ได้เพิ่มเข้ามา
9. คลิกติ๊กถูก Enable VCD Menu เพื่อให้แสดงเมนูด้วย
10. คลิกชื่อไฟล์วีดีโอ
11. คลิกปุ่ม Properties
12. คลิกแท็ป Menu
13. คลิกช่อง Title พิมพ์ชื่อวีดีโอนั้นๆ ตั้งชื่อตามโอกาสที่ได้ถ่ายวิดีโอเก็บไว้ก็ได้ พอเห็นชื่อ ก็จะนึกออก ว่าเป็นวิดีโอเกี่ยวกับอะไร
14. ลากแถบสไลด์เลื่อนไปยังฉากที่ต้องการ ภาพที่ได้นี้จะถูกนำไปแสดงบนเมนู
15. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
16. ให้ปฏิบัติแบบเดียวกันจนครบทุกไฟล์
17. คลิกปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนการเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดี
วีซีดีรวมเพลงคาราโอเกะ
ใครที่ชอบร้องเพลงคาราโอเกะก็สามารถรวมเฉพาะเพลงโปรดมาไว้ด้วยกันได้
1. ใส่แผ่นวีซีดีคาราโอเกะเข้าไป
2. ปกติจะปรากฏหน้าจอแสดงข้อมูลภายในแผ่น ถ้าไม่ปรากฏหน้าจอคล้ายกับตัวอย่าง ก็เข้า โปรแกรม Windows Explorer แล้วคลิกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นซีดีเข้าไป จากนั้นดับเบิ้ลคลิกโฟลเดอร์ชื่อ MPEGAV
3. เลือกไฟล์คาราโอเกะที่ต้องการ ต้องการมากกว่าหนึ่งไฟล์ ก็คลิกไฟล์แรกก่อน กดปุ่ม Ctrl ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการทั้งหมด ครบแล้วปล่อยปุ่ม Ctrl
4. ชี้ลูกศรที่ไฟล์ใดไฟล์หนึ่งที่ได้เลือกไว้ แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด จากนั้นคลิก ที่ Send To>>tempCDRW
5. เข้าโปรแกรม Nero Express
6. คลิก Video/Picture
7. คลิกปุ่ม Add
8. เลือกเพลงในโฟลเดอร์ TempCDRW
9. เพิ่มเพลง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Close
10. ไฟล์วิดีโอก็จะถูกเพิ่มเข้าไป รอเขียนลงแผ่นซีดี
11. ส่วนไฟล์วิดีโอที่ไม่ได้มาตรฐานของการทำแผ่นวีซีดี ก็เข้ารหัสใหม่โดยคลิกปุ่ม OK
12. ติ๊กถูก Enable VCD Menu แสดงเมนูด้วย
13. ไฟล์วิดีโอที่ถูกเพิ่มเข้ามา คลิกชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม Properties เพื่อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไฟล์วิดีโอนั้นๆ
14. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนซีดีต่อไป
การปรับแต่งเมนูของ VCD 
เมนูของ VCD จะเป็นส่วนที่ปรากฏ เมื่อใส่แผ่นวีซีดีเข้าไป โดยจะมีรายชื่อวีดีโอให้เลือก เพื่อ ดูเฉพาะวีดีโอที่ต้องการ
เราสามารถปรับแต่งส่วนต่างๆ ได้ 3 ส่วนด้วยกัน
1. Layout เป็นโครงร่างโดยรวมของเมนู เช่นแสดงวิดีโอกี่ภาพในหนึ่งหน้าจอ
2. Background เป็นส่วนพื้นหลังของเมนู ปรับแต่งได้
3. Text เป็นข้อความที่ปราฏบนเมนู สามารถปรับแต่งได้
4. เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม Show full screen menu เพื่อดูผลงาน
การก็อปปี้แผ่นซีดี
เกี่ยวกับการเขียนซีดี การก็อปปี้แผ่นจะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ปีๆ หนึ่งก็อปปี้กันเป็นล้าน
1. คลิกที่ Image, Project, Copy
2. คลิก Copy Entire CD
3. ในส่วน Source drive ให้คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับเข้าไป
4. ในส่วน Destination drive ให้คลิกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นเปล่าสำหรับก็อปปี้เข้าไป ถ้าในเครื่อง มีไดรว์เดียว ก็คลิกเลือกชื่อไดรว์ชื่อเดียวกับในช่อง Source drive ถ้าโปรแกรมอ่านข้อมูลในแผ่นต้น ฉบับเสร็จแล้ว ก็จะดีดแผ่นออกมา ก็ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปแทน แต่ถ้ามี 2 ไดรว์ ก็จะเขียนข้อมูลลงแผ่น เปล่าที่อยู่ในอีกไดรว์
5. ตัวเลือก Quick copy สำหรับเครื่องที่มี 2 ไดรว์ มีเครื่องเขียน 2 ตัว อาจคลิกเลือกคำสั่ง นี้ ซึ่งจะทำการเขียนลงแผ่นจากต้นฉบับลงแผ่นซีดีโดยตรง ไม่มีการสร้างเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ก่อน ผล อาจจะไม่ดีนัก ต้องทดลองเอง
6. ในส่วน Writing speed ถ้าเป็นการก็อปปี้ข้อมูลจำพวก แผ่นเพลงออดิโอ แผ่นวีซีดีให้ เขียนที่ความเร็วน้อยๆ แน่นอนกว่า ช้าหน่อยแต่นำไปใช้กับเครื่องเล่นตามบ้าน แล้วไม่มีกระตุก
7. พร้อมแล้วก็คลิกปุ่ม Copy

การสร้างอิมเมจไฟล์ด้วย Nero Express

จะเป็นการก็อปปี้ข้อมูลในแผ่นซีดีซึ่งอาจเป็นแผ่นซีดีเพลง แผ่นหนัง แผ่นข้อมูล ฯลฯ เป็น อิมเมจไฟล์ไว้ในเครื่อง แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอิมเมจไฟล์แบบใดก็ตาม หลักการคล้ายกัน คือคลิกเลือก เครื่องเขียนซีดีให้เป็น Image Recorder เสร็จแล้วก็ต้องคลิกเลือกเครื่องเขียนซีดีตามปกติ
1. คลิกเลือก Use New Image Recorder
2. คลิก Image, Project, Copy
3. คลิกที่ Copy Entire CD
4. คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับไว้
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Copy เริ่มสร้างอิมเมจไฟล์
6. จะปรากฏกรอบข้อความ ให้ตั้งชื่อไฟล์ พิมพ์ชื่อลงไป แล้วคลิกปุ่ม Save หลังเสร็จขั้นตอน การสร้าง ก็จะได้ไฟล์แบบ nrg

นำอิมเมจไฟล์ไปเขียนลงแผ่นซีดี 

อิมเมจไฟล์ที่ได้จะเป็นไฟล์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการนำไปใช้งานก็จัดการเขียน ลงแผ่นซีดีเปล่า
1. คลิก Image, Project, Copy
2. คลิกที่ Disc Image or Save Project
3. คลิกเลือกอิมเมจไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Open
4. ใส่แผ่นซีดีเปล่าเข้าไป
5. คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีเข้าไป
6. คลิกปุ่มแสดงคำสั่งเพิ่มเติม
7. กำหนดค่าต่างๆ ตามต้องการ
8. คลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนซีดี

การเขียนแผ่นดีวีดีด้วย Nero Express
เขียนแผ่นดีวีดีข้อมูล 

เป็นลักษณะการนำข้อมูลไปเขียนลงแผ่นดีวีดี ถ้าข้อมูลมีจำนวนมากเกิน 700 MB ก็ควรเขียน ลงแผ่นดีวีดี จะคุ้มกว่า ราคาแผ่นตอนนี้ก็อยู่ประมาณ 10 บาทขึ้นไป
1. คลิกเลือก Data>>Data DVD
2. คลิกปุ่ม Add
3. เลือกข้อมูลที่ต้องการ
4. คลิกปุ่ม Add
5. เลือกไฟล์ครบแล้วคลิกปุ่ม Close
6. ข้อมูลที่ได้เพิ่มเข้ามา
7. คลิกปุ่ม Next
?
8. คลิกและพิมพ์ชื่อแผ่น ในช่อง Disc name
9. ในช่อง Current recorder คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นดีวีดีเปล่าเข้าไป
10. คลิกปุ่มแสดงตัวเลือกเพิ่มเติม
11. กำหนดความเร็วในการเขียนแผ่นและค่าอื่นๆ ตามต้องการ
12. คลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น

เขียนแผ่นดีวีดีรวมเพลง MP3, WMA หรือ MP4

เป็นการรวบรวมเพลงทั้ง MP3, WMA, MP4 แล้วเขียนลงแผ่นดีวีดี จะทำเป็นแผ่นดีวีดีรวม เฉพาะเพลง MP3 อย่างเดียวหรือผสมกันก็ได้ ขั้นอยู่กับเครื่องเล่นว่าสามารถเล่นไฟล์แบบใดได้บ้าง
1. คลิก Music
2. คลิกที่ Jukebox Audio DVD
3. คลิกปุ่ม Add
4. โปรแกรมจะเพิ่มเพลงเข้าไป
5. เลือกเพลงครบแล้ว ก็คลิกปุ่ม Close
6. คลิกปุ่ม Next เข้าสู่ขั้นตอนการเขียนแผ่น
7. กำหนดค่าต่างๆ ในการเขียน แล้วคลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนแผ่น การเขียนแบบนี้จะกำหนด ความเร็วสูงสุดเท่าที่เครื่องเขียนสามารถทำได้ ก็ไม่เป็นไร เพราะข้อมูลไม่มีการบีบอัด จึงไม่ค่อยมีผล ต่อการฟังเท่าไร แต่ถ้าเอาไปฟังกับเครื่องเล่น DVD แล้วเกิดอาการกระตุก เสียงสะดุด ก็เขียนที่ความ เร็วต่ำๆ กว่านั้น
8. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

การก็อปปี้แผ่น DVD

อาจเป็นการก็อปปี้แผ่นหนังหรือแผ่นข้อมูลวิธีการก็คล้ายๆ กัน
1. ใส่แผ่นดีวีดีต้นฉบับเข้าไปในช่องอ่าน
2. คลิก Image, Project, Copy
3. คลิกที่ Copy Entire DVD
4. คลิกเลือกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นดีวีดีต้นฉบับเข้าไป
5. คลิกเลือกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นเปล่าเข้าไป ถ้าในเครื่องมีเครื่องเขียนดีวีดีตัวเดียว ก็คลิกเลือก ไดรว์เดียวกับในข้อที่ 4 เมื่อโปรแกรมอ่านข้อมูลในแผ่นดีวีดีต้นฉบับเสร็จแล้ว ก็จะดีดแผ่นออก ให้ ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปก่อน
6. คลิกเลือกความเร็วในการเขียนแผ่น ถ้าเป็นการก็อปปี้แผ่นดีวีดีเพลง หนัง ก็ควรเลือกที่ ความเร็วต่ำๆ ไว้ก่อน
7. คลิกปุ่ม Copy เริ่มทำงาน
8. โปรแกรมจะเริ่มต้นก็อปปี้ข้อมูลในแผ่นต้นฉบับเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ในเครื่อง แล้วจะดีด แผ่นต้นฉบับออกมา
9. ก็ใส่แผ่นดีวีดีเปล่าเข้าไป เพื่อเริ่มก็อปปี้

การสร้างอิมเมจไฟล์สำหรับการเขียนแผ่นดีวีดี

วิธีการก็ไม่ต่างไปจากการสร้างอิมเมจไฟล์ ในกรณีของการเขียนแผ่นซีดี เช่น ขณะนั้นกำลัง ก็อปปี้แผ่นดีวีดี แล้วแผ่นก็เกิดหมดพอดี ก็สามารถสร้างเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ก่อนได้ แล้วก็เขียนลงแผ่น ดีวีดี ในภายหลัง
1. คลิกเลือกไดรว์ สำหรับเขียนแผ่นเป็น Image Recorder
2. เมื่อคลิกปุ่ม Burn ก็จะปรากฏกรอบข้อความให้ตั้งชื่อไฟล์ พิมพ์ชื่อลงไปแล้วคลิก Save
3. หลังจากนั้นก็จะได้ไฟล์แบบ nrg


วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555


 อุปกรณ์ประมวลผล  (Process  Device)

           อุปกรณ์ประมวลผล ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล จะประกอบด้วย
           การประมวลผลข้อมูล (Process) : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล  โดยข้อมูลที่ User นำเข้า
 มาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (Memory :RAM)  จากนั้น Control  Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก  RAM  ไปยัง  ALU  เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งระหว่างการประมวลผล  Register จะคอยเก็บชุดคำสั่งขณะที่ load ข้อมูลอยู่  และ Cache
จะคอยดักชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้บ่อย ๆ  และคอยจัดเตรียมข้อมูลหรือชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อเอื้อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งการประมวลผลของเครื่องนี้จะทำงานตามรอบสัญญาณนาฬิกาของเครื่อง (Machine cycle)
 แสดงขั้นตอนการประมวลผล ดังภาพด้านล่าง
 
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆดังนี้



แบ่งตามยุคสมัย ออกเป็น 7 ยุค ดังนี้
            ยุคที่ 1 บริษัท IBM ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลขึ้นมา และได้เลือกใช้ซีพียู 8088 และ 8086 ของบริษัท Intel เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เป็นที่แพร่หลายจนมีผู้ผลิตเครื่องเลียนแบบออกมามากมายที่ใช้ซีพียูรุ่นนี้ ซึ่งเป็นของบริษัท Intel
ซีพียูรุ่น 8086
            ยุคที่ 2 ยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูตระกูล 286 ซึ่งยุคนี้ซีพียูจะมีความเร็วสูงสุดเพียง 20 MHz
 
ซีพียูรุ่น 286
            ยุคที่ 3 ยุคของซีพียูตระกูล 386 เริ่มมีการใช้หน่วยความจำแคชทำงานร่วมกับซีพียู เป็นผลให้ซีพียูในตระกูล 386 มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าในรุ่น 286
ซีพียูรุ่น 386
            ยุคที่ 4 ยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ซีพียูตระกูล 486 จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานในระดับองค์กร และรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
ซีพียูรุ่น 486
            ยุคที่ 5 เริ่มมีการตั้งซื่อของซีพียู แทนที่จะเรียกชื่อเป็นตัวเลขเช่นเดิม เริ่มจากบริษัทIntel ตั้งชื่อซีพียูว่า “Pentium” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาโรมันซึ่งแปลว่า ห้า  บริษัท AMDก็ตั้งชื่อของตนว่า “K5”
ซีพียูรุ่น Pentium
            ยุคที่ 6 ซีพียูยังคงเป็น Pentium แต่มีความเร็วในการประมวลผลมากขึ้น ใช้ชื่อว่า“Pentium II” ทาง AMD ก็ได้ผลิตซีพียูโดยใช้ชื่อว่า “K6” ออกมา หลังจากนั้นก็มีซีพียูของทั้งสองค่ายผลิตออกมาอีกหลายรุ่นด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Celeron , Pentium III Coppermineและ AMD K6-3
ซีพียูรุ่น Pentium II และ K6
            ยุคที่ 7 ยุคปัจจุบัน ความเร็วของซีพียูได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนทะลุหลักถึง 1 GHzสาเหตุที่มีความเร็วขึ้นมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตที่ออกแบบให้ซีพียูมีขนาดเล็กลงนั่นเอง ซีพียูในยุคนี้ได้แก่ Athlon , Duron ที่ ผลิตโดย  AMD และ Pentium 4 ที่ผลิตโดยIntel
ซีพียูรุ่น Pentium 4 และ  AMD Duron

ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น


หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
       เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)



          เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 
     1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป 
     2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล 
     3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ 
     4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) 

               เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด" ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

  ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
  ชิปเซ็ต (Chip set)
  ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
  ระบบบัสและสล็อต
  Bios
  สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  ถ่านหรือแบตเตอรี่
  ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
  จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
  ขั้วต่อ IDE
  ขั้วต่อ Floppy disk drive
  พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
  พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  พอร์ต USB
แหล่งอ้างอิง   www.somdetpit.ac.th

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output )

ส่วนแสดงผลข้อมูล (Output Unit)

output   คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)  และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล   ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน  ได้แก่  Monitor  และ  Printer
      ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเรา สามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker) เป็นต้น



จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป
    
                     
 
เลเซอร์ปริ้นเตอร์                         เครื่องพิมพ์แบบเข็ม (Dot Matrix)              เครื่องพิมพ์
แบบพ่นหมึก (Inkjet)
Plotter เป็นอีกชนิดหนึ่งของหน่วยแสดงผลข้อมูล  ทำหน้าที่เหมือนเครื่องพิมพ์  แต่สามารถพิมพ์ภาพขนาดใหญ่ได้



ลำโพง  (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลที่แสดงออกมาทางเสียง


Screen (monitor) 
สามารถแสดงผลข้อความ (Text)   ตัวเลข (Number)  รูปภาพ (Image)  เสียง (Sound) และ VDO  แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ  การแสดงผลทาง  Screen output จะเรียกว่า  soft copy  สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว  จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่

Cathode ray tube (CRT)

                                แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics)   ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี   ส่วนจอ  monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำใช้  Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้  user  มองเห็น


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1.  Scan rate อัตราความถี่ในการ refresh  ภาพ  ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ(Refresh Rate)จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second)  ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh   72 Hz / วินาที
2.  Resolution  : ความละเอียดของจอภาพ  ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น  pixels (จำนวนจุดในการเกิดภาพ)  ถ้ามีจำนวน  pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red)   เขียว (Green)   น้ำเงิน (Blue)  ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards)  มี 2 แบบ ได้แก่
 - จอภาพ VGA (Video Graphics Array)  แสดงผล 25สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ  640*480   มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
 - จอภาพ  Super VGA  (SVGA: Super Video Graphics Array)  แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ
3. Dot pitch :  คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel  ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 
จุด(three dots)ได้แก่ (red, green, blue)  แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter)   dot pitch  จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด
4. RAM-Card  memory  : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ  ถ้ามี RAM-Card มาก (high-speed)  ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง
                                   

ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches)  ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”)  โดยวัดตามมุมทแยงของจอ   จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย  และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17”  มักเซตค่าความละเอียด  ตั้งแต่ 640*480  ถึง  1280*1024

Flat-panel screens

                                Liquid crystal display (LCD)  ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptops  ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers)    มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น)   ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images)  และข้อความ (Text)  มากกว่าจอ  CRTs  มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs  

 Smart displays

                                  



ใช้หลักการพื้นฐานของ  Flat-panel technology  โดยมี processor  ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ  โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น  

Printer
ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า  “hard copy”  และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ  กระดาษแนวตั้ง (Portrait)  และกระดาษแนวนอน (Landscape)

 สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่

1. Impact printer

2. None-impact printer

 Impact Printers

                สร้างภาพออกทางกระดาษ  โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ  มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print  รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง  หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy   เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่  Dot-matrix printer


Dot-matrix printer


ใช้การกระทบของหัวเข็ม  ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็น

เส้น (line)  ให้เห็นเป็นภาพ





การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)
1.               ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix  มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น  ซึ่งในอดีต Dot Matrix  จะมีหัวเข็ม (pin)  9 หัวเข็ม  เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ   แต่ถ้าเป็น Dot Matrix  ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2.               ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที  500 cps

None-impact Printers

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม   เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ  Laser printer และ Ink-jet printer

 

Ink-jet printer

ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ    สามารถ  Print  ได้ทั้งภาพขาว-ดำ
และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ  ราคาเครื่องถูกว่า laser printers  แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser  printer
 
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1.  ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm) 2 – 4  ppm
2.  ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่  300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4.  ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser  printer รวมถึง  ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย
Laser printer
เป็นเครื่อง Print  ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ  การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ  มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer

การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1.ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่  300 – 1200 dpi  หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3.  คุณภาพในการพิมพ์ (quality )  : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printersแต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้  ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printer เข้ามาใช้งาน  ดังนี้
1.  ค่าหมึกพิมพ์    สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม  โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก   ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย  ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต  โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก   มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก  และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย  ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ  มีฝากรวยสำหรับเติม  หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย








หมึกเติม Ink-jet Printer


หมึกเติม Laser Printer

2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด

                นอกจากอุปกรณ์  Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว  ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล   เช่น  อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ  Music

  ระบบเสียง (Sound Systems)

                              เครื่อPC  ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia  จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card)  ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive  เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD
sound card  จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง   นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software  ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ  ได้ตามต้องการ









แหล่งอ้างอิง  www.no-poor.com
                       www.thaigoodview.com