วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555


 อุปกรณ์ประมวลผล  (Process  Device)

           อุปกรณ์ประมวลผล ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล จะประกอบด้วย
           การประมวลผลข้อมูล (Process) : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล  โดยข้อมูลที่ User นำเข้า
 มาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (Memory :RAM)  จากนั้น Control  Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก  RAM  ไปยัง  ALU  เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งระหว่างการประมวลผล  Register จะคอยเก็บชุดคำสั่งขณะที่ load ข้อมูลอยู่  และ Cache
จะคอยดักชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้บ่อย ๆ  และคอยจัดเตรียมข้อมูลหรือชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อเอื้อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งการประมวลผลของเครื่องนี้จะทำงานตามรอบสัญญาณนาฬิกาของเครื่อง (Machine cycle)
 แสดงขั้นตอนการประมวลผล ดังภาพด้านล่าง
 
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆดังนี้



แบ่งตามยุคสมัย ออกเป็น 7 ยุค ดังนี้
            ยุคที่ 1 บริษัท IBM ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลขึ้นมา และได้เลือกใช้ซีพียู 8088 และ 8086 ของบริษัท Intel เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เป็นที่แพร่หลายจนมีผู้ผลิตเครื่องเลียนแบบออกมามากมายที่ใช้ซีพียูรุ่นนี้ ซึ่งเป็นของบริษัท Intel
ซีพียูรุ่น 8086
            ยุคที่ 2 ยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูตระกูล 286 ซึ่งยุคนี้ซีพียูจะมีความเร็วสูงสุดเพียง 20 MHz
 
ซีพียูรุ่น 286
            ยุคที่ 3 ยุคของซีพียูตระกูล 386 เริ่มมีการใช้หน่วยความจำแคชทำงานร่วมกับซีพียู เป็นผลให้ซีพียูในตระกูล 386 มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าในรุ่น 286
ซีพียูรุ่น 386
            ยุคที่ 4 ยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ซีพียูตระกูล 486 จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานในระดับองค์กร และรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
ซีพียูรุ่น 486
            ยุคที่ 5 เริ่มมีการตั้งซื่อของซีพียู แทนที่จะเรียกชื่อเป็นตัวเลขเช่นเดิม เริ่มจากบริษัทIntel ตั้งชื่อซีพียูว่า “Pentium” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาโรมันซึ่งแปลว่า ห้า  บริษัท AMDก็ตั้งชื่อของตนว่า “K5”
ซีพียูรุ่น Pentium
            ยุคที่ 6 ซีพียูยังคงเป็น Pentium แต่มีความเร็วในการประมวลผลมากขึ้น ใช้ชื่อว่า“Pentium II” ทาง AMD ก็ได้ผลิตซีพียูโดยใช้ชื่อว่า “K6” ออกมา หลังจากนั้นก็มีซีพียูของทั้งสองค่ายผลิตออกมาอีกหลายรุ่นด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Celeron , Pentium III Coppermineและ AMD K6-3
ซีพียูรุ่น Pentium II และ K6
            ยุคที่ 7 ยุคปัจจุบัน ความเร็วของซีพียูได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนทะลุหลักถึง 1 GHzสาเหตุที่มีความเร็วขึ้นมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตที่ออกแบบให้ซีพียูมีขนาดเล็กลงนั่นเอง ซีพียูในยุคนี้ได้แก่ Athlon , Duron ที่ ผลิตโดย  AMD และ Pentium 4 ที่ผลิตโดยIntel
ซีพียูรุ่น Pentium 4 และ  AMD Duron

ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น


หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
       เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)



          เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 
     1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป 
     2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล 
     3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ 
     4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) 

               เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด" ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

  ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
  ชิปเซ็ต (Chip set)
  ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
  ระบบบัสและสล็อต
  Bios
  สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  ถ่านหรือแบตเตอรี่
  ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
  จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
  ขั้วต่อ IDE
  ขั้วต่อ Floppy disk drive
  พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
  พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  พอร์ต USB
แหล่งอ้างอิง   www.somdetpit.ac.th

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output )

ส่วนแสดงผลข้อมูล (Output Unit)

output   คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)  และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล   ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน  ได้แก่  Monitor  และ  Printer
      ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเรา สามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker) เป็นต้น



จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป
    
                     
 
เลเซอร์ปริ้นเตอร์                         เครื่องพิมพ์แบบเข็ม (Dot Matrix)              เครื่องพิมพ์
แบบพ่นหมึก (Inkjet)
Plotter เป็นอีกชนิดหนึ่งของหน่วยแสดงผลข้อมูล  ทำหน้าที่เหมือนเครื่องพิมพ์  แต่สามารถพิมพ์ภาพขนาดใหญ่ได้



ลำโพง  (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลที่แสดงออกมาทางเสียง


Screen (monitor) 
สามารถแสดงผลข้อความ (Text)   ตัวเลข (Number)  รูปภาพ (Image)  เสียง (Sound) และ VDO  แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ  การแสดงผลทาง  Screen output จะเรียกว่า  soft copy  สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว  จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่

Cathode ray tube (CRT)

                                แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics)   ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี   ส่วนจอ  monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำใช้  Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้  user  มองเห็น


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1.  Scan rate อัตราความถี่ในการ refresh  ภาพ  ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ(Refresh Rate)จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second)  ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh   72 Hz / วินาที
2.  Resolution  : ความละเอียดของจอภาพ  ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น  pixels (จำนวนจุดในการเกิดภาพ)  ถ้ามีจำนวน  pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red)   เขียว (Green)   น้ำเงิน (Blue)  ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards)  มี 2 แบบ ได้แก่
 - จอภาพ VGA (Video Graphics Array)  แสดงผล 25สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ  640*480   มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
 - จอภาพ  Super VGA  (SVGA: Super Video Graphics Array)  แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ
3. Dot pitch :  คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel  ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 
จุด(three dots)ได้แก่ (red, green, blue)  แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter)   dot pitch  จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด
4. RAM-Card  memory  : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ  ถ้ามี RAM-Card มาก (high-speed)  ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง
                                   

ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches)  ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”)  โดยวัดตามมุมทแยงของจอ   จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย  และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17”  มักเซตค่าความละเอียด  ตั้งแต่ 640*480  ถึง  1280*1024

Flat-panel screens

                                Liquid crystal display (LCD)  ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptops  ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers)    มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น)   ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images)  และข้อความ (Text)  มากกว่าจอ  CRTs  มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs  

 Smart displays

                                  



ใช้หลักการพื้นฐานของ  Flat-panel technology  โดยมี processor  ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ  โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น  

Printer
ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า  “hard copy”  และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ  กระดาษแนวตั้ง (Portrait)  และกระดาษแนวนอน (Landscape)

 สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่

1. Impact printer

2. None-impact printer

 Impact Printers

                สร้างภาพออกทางกระดาษ  โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ  มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print  รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง  หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy   เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่  Dot-matrix printer


Dot-matrix printer


ใช้การกระทบของหัวเข็ม  ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็น

เส้น (line)  ให้เห็นเป็นภาพ





การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)
1.               ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix  มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น  ซึ่งในอดีต Dot Matrix  จะมีหัวเข็ม (pin)  9 หัวเข็ม  เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ   แต่ถ้าเป็น Dot Matrix  ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2.               ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที  500 cps

None-impact Printers

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม   เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ  Laser printer และ Ink-jet printer

 

Ink-jet printer

ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ    สามารถ  Print  ได้ทั้งภาพขาว-ดำ
และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ  ราคาเครื่องถูกว่า laser printers  แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser  printer
 
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1.  ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm) 2 – 4  ppm
2.  ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่  300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4.  ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser  printer รวมถึง  ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย
Laser printer
เป็นเครื่อง Print  ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ  การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ  มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer

การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1.ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่  300 – 1200 dpi  หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3.  คุณภาพในการพิมพ์ (quality )  : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printersแต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้  ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printer เข้ามาใช้งาน  ดังนี้
1.  ค่าหมึกพิมพ์    สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม  โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก   ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย  ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต  โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก   มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก  และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย  ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ  มีฝากรวยสำหรับเติม  หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย








หมึกเติม Ink-jet Printer


หมึกเติม Laser Printer

2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด

                นอกจากอุปกรณ์  Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว  ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล   เช่น  อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ  Music

  ระบบเสียง (Sound Systems)

                              เครื่อPC  ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia  จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card)  ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive  เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD
sound card  จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง   นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software  ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ  ได้ตามต้องการ









แหล่งอ้างอิง  www.no-poor.com
                       www.thaigoodview.com

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

 
|||||||| หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
นอกจากนี้ เช่น VDO camera,Scanner,Microphone ,Trackball ,Joystickเป็นต้น

VDO camera
Scanner
Microphone
Trackball
Joystick
            อุปกรณ์รับเข้าในปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการในการนำเข้าที่ต่างๆ กัน
 เราอาจแบ่งประเภทของ อุปกรณ์รับเข้าได้ดังนี้
1. อุปกรณ์รับเข้าแบบกด
        แผงแป้นอักขระ
2. อุปกรณ์รับเข้าแบบปากกา
 
3. อุปกรณ์รับเขัาแบบชี้ตำแหน่ง
        เมาส์
        อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก


แผ่นรองสัมผัส (Trackpad) จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์
 สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
เช่นเดียวกับเมาส์

       ก้านควบคุม

จอยสติก (Joystick) จะเป็นก้านสำหรับ
โยกขึ้นลง/ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่ง
ของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการ
ทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกด
เพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับส่งงานพิเศษ
นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
        ลูกกลมควบคุม

ลูกกลมควบคุม (Trackball) จะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจจะ
วางอยู่ หน้าจอภาพในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์
ต่างหาก เช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็น
การเลื่อนตำแหน่ง ของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ 
        แท่งชี้ควบคุม

แท่งชี้ควบคุม (Trackpoint) จะเป็นพลาสติกเล็ก ๆ
อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยนิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อน
ตำแหน่ง ของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์
 
          ปากกาแสง
           ปากกาแสง (Light pen) ใช้เซลล์แบบ photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสง
เป็นตัวกำหนด ตำแห่นงบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบ
ของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทำได้โดยแตะปากกาแสงไปบนจอภาพ
ตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ ช่วยการออกแบบ
 (CAD หรือ Computer Aided Design) รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
 โดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น
 เครื่องอ่านพิกัด (digitizing tablet
ดิจิไทเซอร์ (Digitizer) 
จิไทเซอร์ หรือ แท็ปเลต (Tablet) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่มักจะใช้ในงาน
 CAD/CAM มีลักษณะเป็น แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับจอภาพ และ
มีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง คล้ายเมาส์วางบนแผ่นสี่เหลี่ยม เรียกว่า 
ทรานซดิวเซอร์ เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปบนกระดาน 
จะมีการส่งสัญญาณจาก ตะแกรงใต้แผ่น กระดาน ไปให้คอมพิวเตอร์
4. อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส
 จอภาพสัมผัส (Touch screen Monitor) เป็นอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ป้อน
ข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และแสดงผลหรือเอาต์พุตออกสู่ผู้ใช้ในตัวเอง ผู้ใช้สามารถ
ใช้นิ้วแตะบนหน้าจอตามภาพ หรือเมนูที่จัดเตรียมไว้ในการสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
และนำเอาต์พุตออกมาให้
  5. อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ
 เครื่องอ่านรหัสแท่ง
เครื่องกราดตรวจ
กล้องถ่ายภาพดิจิทัล (digital camera)
              6. อุปกรณ์รับเข้าแบบจำเสียง
            อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Devices) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดย 
นักคอมพิวเตอร์และนักภาษาศาสตร์ เพื่อใช้รับสัญญาณเสียงที่มนุษย์พูด และแปลง
เป็นสัญญาณ ดิจิตอลเก็บเป็นข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ ปัญหาที่สำคัญของอุปกรณ์ชนิดนี้
คือ ผู้พูดแต่ละคน จะมีน้ำเสียงและสำเนียงเฉพาะของแต่ละบุคคล จึงได้มีการแก้ปัญหา
โดยให้คอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้เสียงของผู้ที่ต้องการใช้งานในระยะเวลาหนึ่งก่อน 
 เพื่อเก็บรูปแบบของน้ำเสียงและสำเนียงไว้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดได้มาก

อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
ด้วยกันคือ
 -  แป้นอักขระ (Character Keys)
 -  แป้นควบคุม (Control Keys)
 -  แป้นฟังก์ชัน (Function Keys)
 -  แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม
 (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก
 (Joy stick) เป็นต้น

 

 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น
จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)

 ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen)
 เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์
 (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด
 (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง
(Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง
 (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)
 กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)

   


 อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด
 (Speech Recognition Device)




 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


แหล่งอ้างอิง www.thaigoodview.com
                      www.chakkham.ac.th