วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Image Digital

Image  Digital  คือ
·                 -   function 2 มิติ (f(x, y)) โดยที่ x และ y คือพิกัดในระนาบ(spatial/plane coordinate) และค่าของสำหรับ (x, y)ใดๆ คือ ความเข้มแสงหรือค่าระดับเทา (intensity/gray level)
                    - เมื่อ x, y และ f มีค่าแน่นอน และเป็นจำนวนเต็ม เราจะเรียกว่าdigital image
   ภาพดิจิทัล 
                      ภาพดิจิทัล เป็นการแสดงผลภาพในลักษณะสองมิติในหน่วยที่เรียกว่าพิกเซล
ภาพดิจิทัลสามารถนิยามเป็นฟังก์ชันสองมิติ f (x,y)  โดยที่  x และ  y  เป็นพิกัดของภาพ และแอมพลิจูดของ f  ที่พิกัด (x,y) ใดๆภายในภาพคือค่าความเข้มแสงของภาพ (Intensity) ที่ตำแหน่งนั้นๆ และเมื่อ x,y และแอมพลิจูดของ f เป็นค่าจำกัด (Finite value) จึงเรียกรูปภาพนี้ว่าเป็นภาพดิจิทัล (Digital Image) และถ้ากำหนดให้ภาพ f (x,y)  มีขนาด M แถวและ N คอลัมน์ และพิกัดของจุดกำเนิด (Origin) ของภาพคือที่ตำแหน่ง (x,y) = (0,0) แล้ว จะสามารถเขียนสมการให้อยู่ในรูปเมทริกซ์ได้ดังนี้

ค่าแต่ละค่าที่อยู่ในเมทริกซ์จะเรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยตำแหน่ง (0,0) จะอยู่ทางด้านซ้ายมือสุดด้านบนของภาพ การจัดลำดับตำแหน่งของจุดภาพจะเรียงจากซ้ายไปขวาในแต่ละเส้นจุดและจัดลำดับของเส้นจุดจะเรียงจากบนลงล่างการเก็บค่าของความเข้มแสงของภาพ ดิจิทัลลงหน่วยความจำในลักษณะเส้นจุด(raster)นี้จะเรียกภาพบิตแมป (bit-maped image) หรือภาพแรสเตอร์(raster image) แต่ภาพที่จัดเก็บในลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่จึงมีการบีบอัดภาพ(image compression) เพื่อให้ข้อมูลภาพมีขนาดเล็กลง

การสร้างภาพดิจิทัลสามารถสร้างได้จากอุปกรณ์รับภาพเช่น กล้องดิจิทัล(digital cameras) เครื่องกราดภาพ(scanners) เป็นต้น ภาพดิจิทัลยังสามารถสร้างโดยการสังเคราะห์จากสิ่งที่ไม่ใช่ข้อมูลภาพเช่น ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ หรือ แบบจำลองเรขาคณิตแบบสามมิติซึ่งการสร้างภาพลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics)
 Digital Images
  Digital Images เป็นการจับภาพจากสิ่งแวดล้อม หรือ ทำสำเนาภาพจากเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เช่น รูปถ่าย เอกสารที่เขียนด้วยมือ เอกสารพิมพ์ และพิมพ์เขียว เป็นต้น โดย Digital images จะอยู่ในรูปของแผ่นตารางโดยแต่ละช่องจะเป็นส่วนหนึ่งของภาพหรืออักษร เรียกแต่ละจุดหรือช่องนั้นว่า “pixel” แต่ละ pixel จะถูกกำหนดให้มีระดับของความเข้ม (สีดำ สีขาว สีเทาหรือสีอื่นๆ) ซึ่งแสดงให้อยู่ในรูปของ รหัส Binary (0และ 1) แต่ละ pixel ก็จะแทนด้วย Binary digital (“bits”) จะถูกเก็บเป็นลำดับใน computer และโดยทั่วไปจะถูกลดขนาดลงด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ (บีบอัดให้เล็กลง) แต่ละ bit จะถูกแปลและอ่านโดย computer ให้เป็นแบบ Analog ซึ่งเป็นรูปภาพ หรือ แผ่นพิมพ์


ภาพแบบ 2 สี แสดงให้เห็นแต่ละ Pixel ถูกกำหนดให้มีค่าเป็น 0 แสดงเป็นสีดำ และ 1 แสดงเป็นสีขาว
      Resolution เป็นความสามารถในการปรับระยะการแสดงความละเอียดของภาพ digital ระยะห่างของความถี่ในการแสดงภาพ (ความถี่ในการทำ sampling) จะถูกระบุในรูปของ Resolution ซึ่งหมายถึง dot per inch (dpi) หรือ pixels per inch (ppi) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกหรือบ่งบอกว่ามีการแสดงภาพอยู่ที่ระดับ Resolution ที่เท่าไร แต่อยู่ในขอบเขตจำกัด การเพิ่ม ความถี่ในการ sampling ก็เป็นการเพิ่ม resolution ด้วยเช่นกัน
  
Pixel: สามารถที่จะมองเห็นแต่ละ Pixel ได้โดยการขยายภาพที่เป็น Digital
     Pixel Dimension เป็นการวัดขนาดทั้งในทางแนวนอนและแนวตั้งของภาพที่ปรากฏ เป็น Pixel ซึ่งบางครั้งอาจจะถูกกำหนดในรูปของความกว้างและความสูงโดยบอกเป็น dpi สำหรับกล้องDigitalก็มี Pixel Dimensionเหมือกัน การระบุจำนวน pixel แนวตั้งและแนวนอนเสมือนเป็นการระบุ resolution ด้วย (เช่น 2,048 x 3,072) การคำนวณ dpi ทำโดยการแบ่งขนาดของเอกสารเป็นส่วนให้มีขนาดเท่ากันตามแนว



    เช่น เอกสาร 8” x 10” ถูกเก็บความละเอียดที่ 300 dpi (dot per inch) ความหมายคือ pixel dimension เป็น 2400 pixel (8”x 300dpi) ต่อ 3000 pixel (10” x 300 dpi)
     Bit Depth คือ การกำหนดตัวเลขจำนวนของ bit ที่ใช้ระบุแต่ละ pixel ค่า bit ยิ่งมาก ก็จะมีความลำดับชั้นสีมากเช่นกัน ในการใช้แสดงภาพ Digital image อาจจะแสดงได้ทั้ง ขาว ดำ หรือไล่เฉดสี หรือสีอื่นๆ
Bitonal image อยู่ในรูป Pixel ที่แต่ละ Pixel จะมี 1 bit ซึ่งแสดงได้ 2 ระดับสี คือ ขาวและดำ โดยค่า 0 จะเป็นสีดำ และ 1 จะเป็นสีขาว หรืออาจจะตรงกันข้าม
Grayscale image เป็นการเรียงของ pixel ที่ใช้ข้อมูลแบบ multiple bits อยู่ในช่วงระหว่าง 2- 8 bit หรือมากกว่านั้น
     ตัวอย่าง 2-bit image จะมีได้ 4 รูปแบบสี คือ 00 01 10 และ 11 ถ้า 00 คือสีดำ และ 11 คือสีขาว แต่ 01 คือดำเทา และ 10 คือเทาสว่าง bit depth คือ 2 แต่จำนวน tone จะเป็นค่า 22 หรือ 4 ที่ 8 bit = (28) = 256 tone ที่ต่างกันเป็นตัวกำหนดค่า pixel
     Color image แบบทั่วไปนั้นจะมีค่า bit depth อยู่ในช่วง 8 – 24 bit หรือมากกว่า ภาพที่มี 24 bit นั้นคือ bit จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 8 สำหรับสีแดง 8 สำหรับสีเขียว 8 สำหรับสีนำเงิน สีทั้งหมดจะถูกรวมกันเพื่อแสดงสีอื่นๆ
24-bit image สามารถแสดงค่าสีได้ถึง 16.7 ล้านสี (224) สำหรับ scanner นั้นได้เพิ่ม จำนวน bitในการจับภาพเอกสารเป็น 10 bit หรือมากกว่านั้น เพราะบ่อยครั้งหลังจากจับภาพเอกสารที่ 8 bit จะมี noise รวมเข้าไปด้วย และเพื่อให้ภาพที่ออกนั้นมีความเหมือนใกล้เคียงกับที่มนุษย์ต้องการ
เช่น เอกสาร 8” x 10” ถูกเก็บความละเอียดที่ 300 dpi (dot per inch) ความหมายคือ pixel dimension เป็น 2400 pixel (8”x 300dpi) ต่อ 3000 pixel (10” x 300 dpi)
     Bit Depth คือ การกำหนดตัวเลขจำนวนของ bit ที่ใช้ระบุแต่ละ pixel ค่า bit ยิ่งมาก ก็จะมีความลำดับชั้นสีมากเช่นกัน ในการใช้แสดงภาพ Digital image อาจจะแสดงได้ทั้ง ขาว ดำ หรือไล่เฉดสี หรือสีอื่นๆ
Bitonal image อยู่ในรูป Pixel ที่แต่ละ Pixel จะมี 1 bit ซึ่งแสดงได้ 2 ระดับสี คือ ขาวและดำ โดยค่า 0 จะเป็นสีดำ และ 1 จะเป็นสีขาว หรืออาจจะตรงกันข้าม
Grayscale image เป็นการเรียงของ pixel ที่ใช้ข้อมูลแบบ multiple bits อยู่ในช่วงระหว่าง 2- 8 bit หรือมากกว่านั้น
     ตัวอย่าง 2-bit image จะมีได้ 4 รูปแบบสี คือ 00 01 10 และ 11 ถ้า 00 คือสีดำ และ 11 คือสีขาว แต่ 01 คือดำเทา และ 10 คือเทาสว่าง bit depth คือ 2 แต่จำนวน tone จะเป็นค่า 22 หรือ 4 ที่ 8 bit = (28) = 256 tone ที่ต่างกันเป็นตัวกำหนดค่า pixel

     Color image แบบทั่วไปนั้นจะมีค่า bit depth อยู่ในช่วง 8 – 24 bit หรือมากกว่า ภาพที่มี 24 bit นั้นคือ bit จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 8 สำหรับสีแดง 8 สำหรับสีเขียว 8 สำหรับสีนำเงิน สีทั้งหมดจะถูกรวมกันเพื่อแสดงสีอื่นๆ
24-bit image สามารถแสดงค่าสีได้ถึง 16.7 ล้านสี (224) สำหรับ scanner นั้นได้เพิ่ม จำนวน bitในการจับภาพเอกสารเป็น 10 bit หรือมากกว่านั้น เพราะบ่อยครั้งหลังจากจับภาพเอกสารที่ 8 bit จะมี noise รวมเข้าไปด้วย และเพื่อให้ภาพที่ออกนั้นมีความเหมือนใกล้เคียงกับที่มนุษย์ต้องการ

      Dynamic range ภาพที่อยู่ด้านบนนั้นมี Dynamic range กว้างแต่จำกัดจำนวนการแสดงของสี ส่วนภาพล่าง มี Dynamic range ที่แคบ แต่มีจำนวนของสีที่มากกว่า
     File size จะถูกคำนวณได้จาก การคูณกันของพื้นผิวของเอกสาร (สูง x กว้าง) ที่ถูกเลือก คูณกับ bit depth และdpi2 เนื่องจาก ขนาดของ file ภาพนั้นจะต้องถูกแสดงในรูปของ byte ที่ซึ่งก็คือ 8 bits ดังนั้นจึงต้องหารด้วย 8
สูตร 1 สำหรับคำนวณหาขนาด File
ขนาด file = (height x width x bit depth x dpi2) / 8
      ตัวอย่าง เช่น ภาพที่ได้มาจากกล้อง Digital มีขนาด 24 bit โดยมีจำนวน pixel dimension 2,048 x 3,072 ดังนั้นขนาด file จะเท่ากับ (2,048 x 3,072 x 24)/ 8 หรือมีค่าเท่ากับ 18,874,368 byte
สูตร 2 สำหรับคำนวณหาขนาด File
ขนาด file = (pixel dimensions x bit depth) / 8
     File size naming convention ด้วยเหตุที่ว่า file ภาพ digital ส่วนมากมีขนาดใหญ่มาก จำนวน byte จึงเป็นหน่วยที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงจำนวนค่า ที่เพิ่มตั้งแต่ 210 ขึ้นไป
1 Kilobyte (KB) = 1,024 bytes
1 Megabyte (MB) = 1,024 KB
1 Gigabyte (GB) = 1,024 MB
1 Terabyte (TB) = 1,024 GB
     Compression ถูกใช้ในการลดขนาด file เพื่อใช้เก็บ ประมวลผล และ ส่งข้อมูล ขนาด file สำหรับภาพ digital มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งสิ้นเปลืองในการคำนวณของระบบคอมพิวเตอร์และส่งผลให้ลดความสามารถของระบบ Network ในขณะส่งถ่าย file การบีบอัดโดยการย่อ code binary ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่การบีบอัดข้อมูลนั้นควรใช้รูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่ควรใช้รูปแบบที่เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะเมื่อนานไป file ที่ถูก บีบอัดแบบไม่ได้มาตรฐานจะเกิดปัญหาการสูญเสียคุณภาพหลังจากทำการแตก file ออกมาใช้งาน
     การบีบ File นั้นจะต้องเน้นเรื่องการสูญเสียของคุณภาพ file ให้น้อยที่สุด เช่นมาตรฐาน ITU-T.6 นั้นเป็นการบีบอัดโดยการย่อ code binary โดยไม่มีการสูญเสียหรือตัดทิ้งส่วนใดๆเลย ดังนั้นเมื่อทำการแตก file จะได้จำนวน bit ที่ยังคงเหมือนต้นฉบับทุกประการ ตัวอย่าง ชนิดของการบีบอัดที่รู้จักกันดี คือ JPEG เป็นมาตรฐานการบีบอัดหนึ่งที่มีการตัดลดบางส่วนที่มีความสำคัญน้อยและเหลือส่วนที่ยอมรับได้ นั้นก็หมายความว่าภาพที่ออกมานั้นยากที่จะจับผิด


ภาพตัวอย่างมีการบีบอัดที่ต่างกัน แต่เมื่อขยายภาพ(ด้านซ้าย) แทบไม่เห็นข้อแตกต่างกันเลย
     File Format ประกอบด้วยจำนวน bit ของภาพ และ ส่วนที่เป็นตัวระบุว่าให้ทราบว่าจะอ่านและแปลจาก file ได้อย่างไร file format จะเปลี่ยนไปตาม Resolution, bit-depth, จำนวนสีและ ลักษณะการบีบอัด 
          การประมวลผลภาพ (อังกฤษ: image processing) คือ เป็นการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลสัญญาณบนสัญญาณ 2 มิติ เช่น ภาพนิ่ง (ภาพถ่าย) หรือภาพวีดิทัศน์ (วิดีโอและยังรวมถึงสัญญาณ 2 มิติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาพด้วย
แนวความคิดและเทคนิค ในการประมวลผลสัญญาณ สำหรับสัญญาณ 1 มิตินั้น สามารถปรับมาใช้กับภาพได้ไม่ยาก แต่นอกเหนือจาก เทคนิคจากการประมวลผลสัญญาณแล้ว การประมวลผลภาพก็มีเทคนิคและแนวความคิดที่เฉพาะ (เช่น connectivity และ rotation invariance) ซึ่งจะมีความหมายกับสัญญาณ 2 มิติเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคบางอย่าง จากการประมวลผลสัญญาณใน 1 มิติ จะค่อนข้างซับซ้อนเมื่อนำมาใช้กับ 2 มิติ
เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว การประมวลผลภาพนั้น จะอยู่ในรูปของการประมวลผลสัญญาณแอนะล็อก (analog) โดยใช้อุปกรณ์ปรับแต่งแสง (optics) ซึ่งวิธีเหล่านั้นก็ไม่ได้หายสาบสูญ หรือเลิกใช้ไป ยังมีใช้เป็นส่วนสำคัญ สำหรับการประยุกต์ใช้งานบางอย่าง เช่น ฮอโลกราฟี (holography) แต่เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ราคาถูกลง และเร็วขึ้นมาก การประมวลผลภาพดิจิทัล (digital image processing) จึงได้รับความนิยมมากกว่า เพราะการประมวลผลที่ทำได้ซับซ้อนขึ้น แม่นยำ และง่ายในการลงมือปฏิบัติ
การประมวลผลภาพดิจิทัล (อังกฤษ: digital image processing) เป็นสาขาที่กล่าวถึงเทคนิคและขั้นตอนวิธีต่างๆ ที่ใช้การประมวลผลภาพที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (ภาพดิจิทัล)
ภาพในที่นี้ รวมความหมายถึงสัญญาณดิจิทัลใน 2 มิติอื่นๆ โดยทั่วไปคำนี้เมื่อใช้อย่างกว้างๆ จะครอบคลุมถึงสัญญาณวิดีโอ (video) หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นชุดของภาพนิ่ง เรียกว่า เฟรม (frame) หลายๆภาพต่อกันไปตามเวลา



วิดีโอสตรีม (video stream)
ซึ่งก็คือสัญญาณ 3 มิติ เมื่อนับเวลาเป็นมิติที่ 3 หรือ อาจจะครอบคลุมถึงสัญญาณ 3 มิติอื่นๆ เช่น ภาพ 3 มิติทางการแพทย์ หรือ อาจจะมากกว่านั้น เช่น ภาพ 3 มิติ และ หลายชนิด (multimodal image)
ภาพเชิงดิจิตอล (Digital Image)


ภาพขาวดำ (Black and White Image)

                สมาชิกในกลุ่ม
นางสาววิชุดา             นาใจดี  เลขที่  13
นางสาวสกุลรัตน์      สากุล    เลขที่  14
นางสาวสุทธิดา         ทิมี       เลขที่  17
นายบุญฤทธิ์              กาขัน   เลขที่  23
                     สบค. 2/4

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความหมายและความสำคัญของโครงสร้างข้อมูล

ความหมายของโครงสร้างข้อมูล
           โครงสร้างข้อมูลจึงหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้น สิ่งพื้นฐานในการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์
     โครงสร้างข้อมูล (Data Structures) คือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆ ซึ่งโครงสร้างข้อมูลนั้นมีหลายโครงสร้างด้วยกัน ไม่ใช่มีเพียงแต่อาร์เรย์ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมกัน ยังมีโครงสร้างข้อมูลอื่นๆ อีก เช่น ลิงค์ลิสต์ กราฟ สแตก คิว เป็นต้น ดังนั้นหากเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมกับงานจะทำให้การประมวลผลนั้นมีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
      โครงสร้างข้อมูล (File Structure) หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. หน่วยข้อมูล (Data Item) หมายถึงส่วนที่เล็กที่สุดของข้อมูล เช่น ตัวเลข ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จะยังไม่มีความหมายในตัวเอง เล่น เลข 9 อักษร ก เป็นต้น
2. ฟิลด์ข้อมูล (Data Field) หมายถึง การนำเอาหน่วยข้อมูลที่สำคัญและต้องการศึกษามาไว้ด้วยกัน เพื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ชื่อ - สกุล คะแนนการสอบครั้งที่ 1 เงินเดือน ซึ่ง ชื่อ สกุล และเงินเดือน คือ 1 ฟิลด์
3. เรคอร์ดข้อมูล (Data Record) หมายถึง การนำฟิลด์หลายฟิลด์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักศึกษาแต่ละคน จะมีข้อมูล ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนคือ 1 เรคอร์ด
4. แฟ้มข้อมูล (Data File) เกิดจากการนำระเบียนหรือเรคอร์ด หลาย ๆ เรคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันในด้านใดด้านหนึ่งมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลของนักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 20 คน ทุกคนต่างก็มีข้อมูล คือ ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ศาสนา ข้อมูลของนักเรียนทั้งหมดคือ แฟ้มข้อมูล
5. ฐานข้อมูล (Data base) เกิดจากการนำแฟ้มหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกันโดยที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มจะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ก็ตาม ทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน และสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
         ความสำคัญของการศึกษาโครงสร้างข้อมูล   
โครงสร้างข้อมุลมี2ประเภท
1.
โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ ( Physical Data structure )ไม่มีการคำนวณ เป็นการเป็นการเปรียบเทียบ สามารถเห็นและจับต้องได้ ข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น ข้อมูลดิบ
-
ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ จำนวนเต็ม (จำนวนเต็มบวก,จำนวนเต็มลบ,จำนวนเต็มศูนย์) จำนวนจริง (มีจุดทศนิยม) และตัวอักขระ
-
ข้อมูลโครงสร้าง ได้แก่ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล
2. 
โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ ( Logical Data Structure) จะมีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงจำนวน และได้มีการประมวลมาแล้ว
-
ข้อมูลแบบเชิงเส้น บอกความสัมพันธ์ บอกความเกี่ยวโยง ได้แก่ ลิสต์ แสตก คิว สตริง
-
ข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น ได้แก่ ทรี กราฟ
                   ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์โครงสร้างข้อมูล (อังกฤษ: Data structure) เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้อัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือก แบบชนิดข้อมูลนามธรรมโครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที...่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ
โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบีจะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล
ในกระบวนการออกแบบโปรมแกรมคอมพิวเตอร์การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงอัลกอริทึมที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้อัลกอริทึมที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี
แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผล กับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรม หลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์


โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
    ขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต มักมีโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์แฝงมากับข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า มัลแวร์( malware ) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย หรือ รบกวนระบบคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น
                ไวรัส ( virus ) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่น แล้วแพร่กระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นบันทึก แฟลชไดรฟ์ หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                 เวิร์ม ( worm ) หรือหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง หรือ หยุดทำงาน
                ม้าโทรจัน ( trojan horse ) เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่น เช่น การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม หรือ โปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์ ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรมนี้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อาจจะมีไวรัสซึ่งติดมากับม้าโทรจันนี้เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้
                สปายแวร์ ( spyware ) เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือ ทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ และ ทำให้ประสิทธิภาพให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง เช่น คีย์ล๊อคเกอร์ ( key-logger) เป็นสปายแวร์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ดของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ได้
                แอดแวร์ ( adware ) เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่าง ป๊อปอัพ ( pop – up ) ที่มีการโฆษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ
                สแปม ( spam ) เป็นการใช้ระบบส่งอีเมลในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปมที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโฆษณาขายสินค้า บริการ ท่องเที่ยว ชักชวนประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ผ่านระบบอีเมลที่เรียกว่า เมลขยะ ( junk mail ) นอกจากนี้อาจมีการส่งผ่านสื่ออื่น เช่น การส่งสารทันที โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมออนไลน์ โปรแกรมค้นหา บล็อก หรือ วิกิ ซึ่งส่งผลให้เกิดการรบกวนการใช้สื่อสารเหล่านั้น
หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เวิร์ม(computer worm) หรือบางทีเรียกกันว่าเวิร์ม คือหน่วยย่อยลงมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ปกติแล้ว หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้ โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย หรือ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิทสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน
บูตเซกเตอร์ไวรัส
          Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
โพลีมอร์ฟิกไวรัส
          Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้นซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สทีลต์ไวรัส
          Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การป้องกันและกำจัดโปรแกรมไม่พึงประสงค์
1. Kaspersky Free Antivirus
          Kaspersky โปรแกรมป้องกันไวรัสที่หลายคนคุ้นเคยและได้รับความนิยมในเรื่องของการป้องกันไวรัสที่มีคุณภาพ Kaspersky ถือเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีฟีเจอร์การทำงาน ครอบคลุมการปกป้องคอมพิวเตอร์จากไวรัส ด้วยคุณสมบัติป้องกันแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส, สปายแวร์, มัลแวร์ , โทรจัน, เวิร์ม, rootkist, botnets เป็นต้น และเสริมความแข็งแรงด้วยฟีเจอร์ Firewall เพื่อป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์ สามารถไปดาวน์โหลด ได้ที่ Kaspersky Lab โดยโปรแกรมเป็นแบบฟรี  Trial สามารถใช้งานได้ 30 วัน 
  2. Avast Free Full Antivirus
          Avast Antivirus โปรแกรมป้องกันไวรัสอีกตัว ที่หันมาพัฒนาแอนตี้ไวรัสแบบฟรีแวร์อย่างต่อเนื่อง มาพร้อมกับคุณสมบัติป้องกันไวรัสพื้นฐานและความปลอดภัยกับการทำงานรวดเร็ว ป้องกันไวรัส สปายแวร์ และยังมีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล การรักษาความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการ 32-bit และ 64-bit
 3. Norton AntiVirus 2012
          Norton โปรแกรมป้องกันไวรัสที่โลดแล่นอยู่ในวงการแอนตี้ไวรัสมานาน ถึงแม้จะถูกผู้พัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น ๆ ยึดตำแหน่งไปครอง แต่ทาง Norton ก็ยังคงพัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสของตัวเองให้ทันยุคทันสมัย เพิ่มคุณสมบัติการทำงานของโปรแกรมใหม่ ๆ เช่น เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊กเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย จัดการมัลแวร์ที่แอบแฝงอยู่บนเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น Norton ยังคงให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานทุกระดับ หากสนใจสามารถดาวน์โหลด Norton AntiVirus 2012 เวอร์ชั่นล่าสุดแบบ  Trial ทดลองใช้งาน 30 วัน
 4. Microsoft Security Essentials
          Microsoft Security Essentials หรือ MSE โปรแกรมป้องกันไวรัสหน้าใหม่จากไมโครซอฟท์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน และกลายเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสยอดนิยมเพราะเป็นฟรีแวร์ที่แจกจ่ายฟรีไม่มีข้อผูกมัด  คุณสมบัติต่าง ๆ ของ Microsoft Security Essentials ก็ไม่ได้น้อยหน้าโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น ๆ มาพร้อมกับการปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจากไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์และอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายด้วยการรักษาความปลอดภัยและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
 5. AVG Free Anti-Virus
          AVG โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ดีอีกตัวนึงในตลาดโปรแกรมป้องกันไวรัส ด้วยความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน 98 ล้านคนทั่วโลก AVG มีการพัฒนาที่ทันสมัยอยู่เสมอและที่สำคัญเป็นโปรแกรมฟรีแวร์ ที่แจกจ่ายให้ใช้งานกันแบบฟรี ๆ สำหรับคุณสมบัติการป้องกันไวรัสเรียกได้ว่าครอบคลุมการทำงาน ช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณ ให้ห่างไกลไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์ รวมไปถึงตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยการใช้งานเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์
 6. Comodo Free Antivirus
          Comodo Antivirus ถือเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีรางวัลการันตีการป้องกันไวรัสที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานโดยออก Comodo Free Antivirus เป็นโปรแกรมฟรีแวร์แต่มาพร้อมกับคุณภาพและคุณสมบัติการป้องกันไวรัส ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส โทรจัน สปายแวร์ และ Firewall ที่แข็งแกร่ง การรักษาความปลอดภัยที่แข็งแรง หากกำลังมองหาโปรแกรมป้องกันไวรัสที่พร้อมไปด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ แบบตัวเดียว Comodo Antivirus เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณไม่ควรมองข้าม
 7. McAfee Free Antivirus
          McAfee โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยและเป็นโปรแกรมป้องไวรัสที่มีคุณสมบัติโดดเด่นที่ทำให้การป้องกันไวรัส สแกนรักษาความปลอดภัยที่น่าสนใจ ด้วยอินเตอร์เฟซของโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนจึงเลือกใช้งาน  McAfee เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัส ปกป้องข้อมูลสำคัญประจำคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเป็นแบบฟรี Trial ทดลองใช้งาน 30 วัน
 8. Trend Micro Free Full version Antivirus
          Trend Micro เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมป้องไวรัสและป้องกันสปายแวร์ที่ดีอีกตัว พร้อมกับคุณสมบัติการทำงานที่ครอบคลุมการใช้งาน สามารถทำงานร่วมกับ Windows XP/ Windows7 และ Windows Vista ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือจากนี้แล้ว Trend Micro ก็ยังพัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสสำหรับโทรศัพท์ด้วยความใส่ใจผู้ใช้งานทุกรูปแบบ โปรแกรมเป็นแบบฟรี Trial ทดลองใช้งาน 30 วัน
 9. Avira Free Antivirus
          Avira Antivirus หรือที่รู้จักกัน คือ "ร่มแดง" เนื่องจาก โปรแกรมนี้ใช้สัญลักษณ์ ร่มแดง นั้นเอง โปรแกรมตัวนี้ถือได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ แอนตี้ไวรัสที่มีคุณภาพและได้รับความนิยมอย่างมาก กับประสิทธิภาพการทำงานและเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก ความสามารถไม่ได้น้อยหน้าโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น ๆ ด้วยการป้องกันไวรัสได้มากกว่า 300,000 ชนิดและมีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันไวรัสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และการใช้งานที่ง่ายรวมไปถึงใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์น้อย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่มีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ
 10. BitDefender Free Edition
          BitDefender โปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีคุณสมบัติครอบคลุมมากที่สุดทำให้การใช้งานทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ถ้าแลกกับคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่ได้นั้น ถือว่า BitDefender ทำงานได้ดีมากทีเดียว ด้วยฟีเจอร์การทำงาน รวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่เข้ามาเสริมทัพ และข่าวดีก็คือ BitDefender ได้ออกโปรแกรมป้องกันไวรัสแบบฟรีแวร์ มาในชื่อ BitDefender Free Edition ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติการทำงานและป้องกันไวรัสขั้นพื้นฐานและมีประสิทธิภาพป้องกันในระดับนึง
 คุณสมบัติในการป้องกันไวรัสและสปายแวร์
การทำงานร่วมกับ SysInspector
SysInspector เป็นเครื่องมือวินิจฉัยที่ทรงพลังสำหรับการวิเคราะห์ระบบปฏิบัติการในส่วนต่างๆ อย่างละเอียด รวมถึงโปรเซสที่ทำงานอยู่ รายการในสตาร์ทอัพ และการเชื่อมต่อเครือข่าย SysInspector ทำให้โปรเซสต่างๆ ในระบบปฏิบัติการมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น นับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ในผู้ใช้ตามบ้านและหน่วยงานธุรกิจ และมีความสามารถในการวินิจฉัยต้นเหตุของปัญหา เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศและนักวิเคราะห์ สามารถส่งบันทึกของ SysInspector ที่มีข้อมูลครบครันให้บุคลากรด้านสารสนเทศได้ทันที
การตั้งค่าการสแกนขั้นสูง
ฟังก์ชั่นการสแกนคลังข้อมูลประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะเช่นความลึกในการสแกนที่หลากหลาย การเลือกขนาดของข้อมูลและไฟล์ รวมถึงการกำหนดไทม์เอาต์ ผู้ใช้สามารถตั้งค่าความลึกสูงสุด เวลาการสแกนสูงสุดสำหรับคลังข้อมูลได้
การปกป้องเอกสาร
การปกป้องเอกสาร (หรือชื่อเดิมว่า DMON) เป็นโมดูลที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นสำหรับการสกนเอกสาร MS Office โมดูลการปกป้องเอกสารจะทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร MS Office ทั้งหมดเพื่อหาการบุกรุกก่อนเปิดหรือดาวน์โหลดเอกสารทาง Internet Explorer
การสนับสนุนสำหรับคอมพิวเตอร์แบบพกพา
คุณสมบัตินี้ช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้งานของคอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ค แล็ปท็อป และอื่นๆ) ในเวอร์ชั่น 4 จะสามารถตรวจสอบได้ว่าคอมพิวเตอร์นั้นทำงานโดยใช้แบตเตอรี่หรือไม่ เพื่อที่จะได้หยุดงานบางอย่างออกไปก่อนอัตโนมัติ และเตือนผู้ใช้ก่อนดาวน์โหลดไฟล์อัพเดตขนาดใหญ่
การรองรับระบบควบคุม CISCONetwork Admission
เวอร์ชั่น 4 สามารถรองรับระบบควบคุม CISCO Network Admission ได้เต็มที่ผ่านปลั๊กอิน
ESET SysRescue
ESET ได้พัฒนาตัวช่วยอัตโนมัติในรูปโฉมใหม่ที่ใช้สำหรับสร้าง CD และคีย์ USB สำหรับการบูตระบบ หลังจากติดตั้ง Microsoft Windows Automated Installation Kit v1.1 ตัวช่วยอัตโนมัติจะสามารถสร้างอิมเมจโดยใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งเอาไว้ได้ อิมเมจในรูปแบบ ISO จะถูกเบิร์นลงใน CD หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้บูตเครื่องได้เช่นคีย์ USB ผู้ใช้สามารถบูตคอมพิวเตอร์จากสื่อข้อมูลสำหรับกู้ระบบเช่นนี้ได้ และยังสามารถสแกนและกำจัดไวรัสออกจากระบบที่ติดไวรัส และบูตเครื่องใหม่ภายหลังได้
การปกป้องจากการถอดถอนการติดตั้งด้วยรหัสผ่าน
เพื่อป้องกันไม่ให้โปรแกรมเวอร์ชั่น 4 ถูกถอดถอนการติดตั้ง จึงมีการควบคุมด้วยรหัสผ่านหากต้องการลบผลิตภัณฑ์ออกจากคอมพิวเตอร์
การเข้าใช้งานสื่อแบบแลกเปลี่ยนได้
ในปัจจุบันการใช้สื่อแบบพกพาได้เพื่อแพร่กระจายไวรัสและมัลแวร์นั้น มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเสียบคีย์ USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสที่ซ่อนอยู่ก็จะสามารถหลุดรอดเข้ามาในคอมพิวเตอร์ได้ แม้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ตาม ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้สื่อข้อมูลแบบพกพาได้ และหยุดช่องทางการระบาดของไวรัสในลักษณะนี้ให้ได้ การป้องกันอันตรายที่มากับสื่อแบบพกพาได้นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการทำงานในบริษัท เนื่องจากข้อมูลจำนวนมากจะถูกถ่ายโอนในระดับกายภาพระหว่างเวิร์กสเตชั่นแต่ละเครื่อง โปรแกรมในเวอร์ชั่น 4 ให้โซลูชั่นที่ผู้บริหารระบบสามารถปฏิเสธการเข้าใช้งานสื่อแบบแลกเปลี่ยนได้ (เช่นอุปกรณ์ USB, ฟลอปปี้ดิสก์ และ CD) ซึ่งเป็นนโยบายที่สามารถบังคับใช้ได้ทั่วววเครือข่ายขนาดใหญ่ผ่านทาง ESET Remote Administrator นอกจากนี้ ค่าดีฟอลต์ยังไม่รวมเอาการสแกนอัตโนมัติสำหรับไฟล์ที่เรียกใช้งานได้จากสื่อแบบแลกเปลี่ยนได้ไว้ล่วงหน้า ซึ่งเลือกใช้ฮิวริสติกขั้นสูงเพื่อการปกป้องในระดับสูงขึ้น
Smart Optimalization
Smart Optimalization ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อความต่อเนื่องในการสแกนหาโปรแกรมอันตรายในระบบ เมื่อเปิดใช้งาน ความเร็วในการสแกนจะเพิ่มขึ้นโดยไม่ทำให้ความปลอดภัยลดลงหรือเกิดผลเสียใดๆ กับระบบ
HIPS
ระบบป้องกันการบุกรุกโฮสต์ (Host Intrusion Prevention System, HIPS) ช่วยปกป้องระบบจากมัลแวร์หรือกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งส่งผลเสียกับสถานะความปลอดภัยของระบบ โดยจะทำการวิเคราะห์พฤติกรรมขั้นสูง ร่วมกับความสามารถในการตรวจสอบของโปรแกรมคัดกรองในระดับเครือข่าย เพื่อตรวจสอบโปรเซส ไฟล์ และรีจิสตรีคีย์ที่กำลังทำงานอยู่ และหยุดยั้งพร้อมป้องกันกิจกรรมเหล่านั้น
คุณสมบัติของเคอร์เนล
การป้องกันตนเอง
การป้องกันตนเองเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์ ใช้สำหรับปกป้องโปรเซสและรีจิสตรีคีย์จากมัลแวร์ที่พยายามปิดการทำงานหรือส่งผลเสียกับสถานะการปกป้องของคอมพิวเตอร์
Support Request Enhancement
The user can rely on the support of ESET specialists via form included in ESET NOD32 Antivirus and ESET Smart Security.Version 4 provides the option to also attach the ESET SysInspector Log containing the summarized information crucial for identification of potential problems.
คุณสมบัติหน้าจอผู้ใช้แบบกราฟิก
หน้าต่างการยืนยัน/หน้าต่างข้อมูลที่ซ่อนอยู่
การปรากฏตัวของหน้าต่างยืนยันสามารถปรับตั้งได้ในส่วนของการตั้งค่าสำหรับผู้ใช้ นอกจากนี้ เมื่อสั่งงานโปรแกรมแบบเต็มหน้าจอ (ขณะเล่นเกมหรือนำเสนองาน) ผู้ใช้จะสามารถปิดหน้าต่างข้อมูลของโปรแกรมได้ชั่วคราว ซึ่งกำหนดให้เป็นดีฟอลต์อยู่แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วย Nero Express


การเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วย Nero Express
การใช้งานโปรแกรมนี้จะต่างจาก Nero Burning Rom ที่การทำงาน เน้นให้ง่าย สะดวก จึง เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มหัดเขียนซีดีหรือดีวีดี เมื่อซื้อเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี ส่วนใหญ่ก็จะแถม โปรแกรม Nero Express มาด้วย ความสามารถไม่เทียบเท่า จะไม่ครบครันเหมือน Nero Burning Rom ก็เป็นการยั่วยวนใจผู้ใช้ ถ้าต้องการเวอร์ชันเต็มๆ ประสิทธิภาพเต็มๆ ก็ต้องควักเงินเพิ่ม
หน้าจอและส่วนประกอบต่างๆ
แต่ละเวอร์ชันหน้าตาจะแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับตัวไรเตอร์ในเครื่อง ถ้าเป็นเครื่อง ที่มี เครื่องเขียนซีดีอย่างเดียว ก็จะมีเฉพาะคำสั่งเกี่ยวกับการเขียนซีดี แต่ถ้ามีเครื่องเขียนดีวีดีด้วยก็จะมี คำสั่งสำหรับเขียนข้อมูลลงแผ่นดีวีดีดังตัวอย่าง
1. Switch to Nero Burning Rom สับเปลี่ยนหน้าจอไปยังโปรแกรม Nero Burning ROM
2. Options ตัวเลือกสำหรับการกำหนดเพิ่มเติมในการใช้งานโปรแกรม
3. Copy Audio CD Tracks ก็อปปี้เพลงในแผ่นซีดีเพลงเป็นไฟล์แบบ Wav, Mp3, Mp4
4. Erase Disc ลบข้อมูลในแผ่นแบบ CD-RW หรือ DVD-/+RW
5. Disc Info แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดิสก์
6. Create Covers and Labels ออกแบบปกซีดี ดีวีดี
7. Select the Recorder to burn on เลือกเครื่องเขียนที่ต้องการ กรณีมีมากกว่าหนึ่งตัว
8. Use Nero Image Recorder เรียกใช้งานโปรแกรมสร้างอิมเมจไฟล์
9. ปุ่มย่อคำสั่งเก็บไว้
10. ปุ่มซ่อน/แสดงคำสั่ง
11. Data เขียนซีดีข้อมูล
12. Music เขียนแผ่นซีดีเพลง เกี่ยวกับเสียง
13. Videos/Pictures ตัวเลือกเกี่ยวกับการเขียนแผ่นวีดีโอซีดีหรือดีวีดี
14. Image, Project, Copy ตัวเลือกสำหรับการสร้างไฟล์อิมเมจ การคัดลอกข้อมูลในแผ่น ซีดีหรือดีวีดี
การเขียนซีดีข้อมูล
เป็นการเขียนข้อมูลลงเก็บไว้ในแผ่นซีดี ข้อมูลที่เขียนลงแผ่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นรูปภาพ เพลง วิดีโอ
1. ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในช่องอ่านซีดีรอมไดรว์
2. คลิกที่ Data>>Data CD
3. คลิกปุ่ม Add
4. คลิกเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ การเลือกก็คลิกไฟล์แรก กดปุ่ม Shift ค้างไว้ คลิกไฟล์สุดท้าย เลือกครบแล้วปล่อยปุ่ม Shift จากนั้นคลิกปุ่ม Add
5. เลือกครบแล้วและไม่ต้องการเพิ่มไฟล์ใดๆ เข้าไปอีก ก็คลิกปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบข้อความ
6. ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามา จะแสดงในส่วนนี้ การเพิ่มเข้ามาก็อย่าให้เกินขีดแดง ไม่เช่นนั้นจะเขียน ลงแผ่นไม่ได้
7. ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามา ถ้าต้องการลบออก ไม่นำไปเขียนลงแผ่น ให้คลิกเลือกชื่อไฟล์เช่น 06 Track 6.wma แล้วคลิกปุ่ม Delete การลบแบบนี้ ไม่ได้ทำให้ข้อมูลจริงๆ ถูกลบออกไปจากเครื่อง เพียงแค่ลบรายชื่อออกไป ไม่ต้องเขียนลงแผ่นซีดี
8. ถ้าข้อมูลนั้นๆ เป็นไฟล์เสียง ไฟล์วิดีโอ ก็จะสามารถคลิกปุ่ม Play เพื่อเล่นไฟล์ได้
9. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำงานต่อ
?
10. คลิกช่อง Disc name แล้วพิมพ์ชื่อแผ่นลงไป
11. ช่อง Current recorder ให้คลิกเลือกไดรว์ที่จะใช้เขียนแผ่น กรณีที่ในเครื่องมีมากกว่า หนึ่งไดรว์
12. ตัวเลือกอื่นๆ Verify data on disc after burning เป็นการตรวจข้อมูลภายหลังจากเขียน เสร็จแล้ว ไม่ต้องคลิกเลือกก็ได้
13. ตัวเลือก Allow files to be added later (multisession disc) เป็นการเขียนแบบมิลติ เซสชั่น ถ้าแผ่นนั้นๆ ไม่ต้องการเขียนข้อมูลเพิ่มลงไปอีกก็ไม่ต้องคลิกติ๊กถูก ก็เลือกตามตัวอย่างก่อน
14. คลิกปุ่มแสดงตัวเลือกให้กำหนดค่าเพิ่มเติม
15. คลิกเลือกความเร็วในการเขียน (Writing speed)
16. คลิกเลือกลักษณะการเขียน (Write Method) ตามตัวอย่าง
17. ตัวเลือกอื่นๆ
Determine maximun speed ให้ทำการวัดความเร็วในการเขียนที่เครื่องสามารถทำได้ แล้วใช้ค่านั้นกำหนดเป็นความเร็วในการเขียนข้อมูลลงแผ่น อาจทดลองทำในการเขียนครั้งแรก ครั้งต่อๆ ไปก็ไม่ต้อง เช่นถ้าเครื่องตรวจแล้วแจ้งว่าเครื่องนี้สามารถเขียนข้อมูลได้ที่ความเร็วกี่ X คราวหน้าในส่วน Writing speed ก็กำหนดค่าลงไปเลย ไม่ต้องคลิกเลือกตัวเลือกนี้ แม้ว่าเครื่องส่วนใหญ่จะใช้เครื่องเขียน ซีดีที่ระบุความเร็วในการเขียนได้ค่อนข้างสูง แต่ในการใช้งานจริงๆ กลับไม่สามารถทำอย่างนั้นได้
Simulation ให้ทดสอบการเขียนแบบจำลองดูก่อน ถ้าผ่านก็จัดการเขียนข้อมูลลงแผ่นจริงๆ ข้อดีโอกาสที่แผ่นจะเสียมีน้อยกว่า แต่ต้องเสียเวลากับการจำลองการเขียนแผ่น อาจทดลองทำในการ เขียนครั้งแรก ครั้งต่อๆ ไปก็ไม่ต้อง ถ้าในครั้งแรกผ่านไปด้วยดี
Write ให้เขียนข้อมูลลงแผ่น ต้องคลิกเลือก โดยติ๊กถูก
18. คลิกปุ่ม Burn เพื่อเริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น
19. จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น
20. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
21. คลิกปุ่ม Next
22. จะปรากฏตัวเลือกต่างๆ Burn same project again ถ้าต้องการเขียนซีดี อีกครั้ง ก็ คลิกเลือกคำสั่งนี้ เพื่อเขียนข้อมูลชุดเดิมลงแผ่นซีดีแผ่นอื่นๆ ต่อไป
23. New project ถ้าต้องการเขียนข้อมูลชุดใหม่ลงแผ่น ก็คลิกคำสั่งนี้
24. ต้องการทำปกซีดี ก็คลิกที่ Cover Designer เพื่อเข้าโปรแกรมออกแบบปกซีดี
25. ต้องการบันทึกงานนี้เก็บไว้ เผื่อวันหน้าอยากจะเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีอีกครั้ง ก็เปิดงาน ขึ้นมาแล้วก็เขียนลงแผ่นอีกครั้ง ในที่นี้จะเลือกคำสั่งนี้ บันทึกงานเก็บไว้
26. แต่ถ้าไม่ต้องการบันทึกงานไว้ ก็คลิกปุ่ม Close ปิดหน้าจอได้เลย
27. จะปรากฏกรอบข้อความให้ตั้งชื่อไฟล์ เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม Save
28. ในคราวหน้าถ้าต้องการเปิดงานที่ได้บันทึกไว้ เปิดขึ้นมาแล้วเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีอีกครั้ง ก็คลิกที่คำสั่ง Image, Project, Copy>>Disc Image or Saved Project
29. คลิกเลือกไฟล์งานที่ต้องการเช่น mydata แล้วคลิกปุ่ม Open
30. จากนั้นก็จัดการเขียนซีดีได้ตามต้องการ
?

การเขียนแผ่นซีดีเพลง

ลักษณะของแผ่นซีดีเพลงในที่นี้ผู้เขียนขอแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามที่นิยมใช้กัน
1. แผ่นออดิโอซีดี เป็นรูปแบบของแผ่นซีดีเพลง ที่พบเห็นกันทั่วไป เช่นของพี่เบิร์ด เสก โลโซ ฯลฯ แผ่นหนึ่งก็จะมีประมาณ 10-20 เพลง แล้วแต่ว่าศิลปินท่านนั้นๆ คุณภาพจะคับแผ่นแค่ไหน คับมาก ก็ให้เพลงมาเยอะ เครื่องเสียงส่วนใหญ่สามารถเล่นไฟล์เสียงแบบนี้ได้
2. แผ่นซีดีเพลง MP3 เป็นแผ่นที่รวมหลายๆ เพลงในแผ่นเดียว ส่วนใหญ่จะทำไว้ฟังในรถ ไม่เช่นนั้นก็ต้องพกแผ่นค่อนข้างเยอะ
3. แผ่นซีดีเพลง Wma ในแผ่นหนึ่งก็จะเก็บเพลงได้มากพอๆ กันแผ่นซีดีเพลงแบบ MP3 แต่การจะสร้างแผ่นแบบนี้ก็ต้องดูว่าเครื่องเล่นของเรารองรับการเล่นไฟล์เพลงแบบนี้หรือไม่
4. แผ่นซีดีรวมเพลงแบบ MP4 อาจจะมีทั้งภาพและเสียง แต่ส่วนใหญ่จะไว้ดูในคอมพิวเตอร์ กันมากกว่า หรือไม่ก็ไว้เล่นบนมือถือ พีดีเอ

การเขียนซีดีรวมเพลง MP3

ลักษณะการเขียนซีดีเพลงแบบนี้จะคล้ายกับการเขียนแผ่นซีดีข้อมูล เพียงแต่ที่จับใส่แผ่นก็คือ ไฟล์ข้อมูลชนิด MP3 อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผ่นซีดีรวมเพลงแบบ อื่นๆ ได้เช่นกัน เช่นแผ่นรวมเพลง WMA หรือรวมเพลง MP4 หลักการคล้ายกัน ถ้าเครื่องเล่นสามารถ เล่นได้ทั้ง MP3, Wma, และ MP4 ก็จับไฟล์เพลงทั้ง 3 ประเภทไว้ในแผ่นเดียวกันเลยก็ได้
1. จัดการก็อปปี้เพลง MP3 ไปไว้ในโฟลเดอร์ TempCDRW ให้เรียบร้อย โดยคลิกปุ่มขวาที่ชื่อ เพลง แล้วคลิกที่ Send To>>TempCDRW
2. จัดการสร้างโฟลเดอร์ย่อย เพื่อแยกเก็บเพลงให้เรียบร้อย อาจแยกเก็บตามชื่อนักร้องก็ได้ เพื่อความสะดวกในการฟัง เพราะสามารถกดเลือกเพลงได้ง่ายกว่า
3. อย่าเก็บรวมๆ กันแบบนี้ การเลือกเพลงที่จะฟัง จะค้นหาได้ยากมาก
4. เข้าโปรแกรม Nero Express
5. คลิกที่ Data>>DataCD
6. คลิกปุ่ม Add
7. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บเพลงไว้ ก็คือ TempCDRW เลือกเพลง แล้วคลิกปุ่ม Add
8. เลือกครบแล้วคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบข้อความ
9. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำงานต่อ
?
10. กำหนดค่าในการเขียนซีดีตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Burn
11. การกำหนดค่าในการเขียนซีดี กำหนดตามตัวอย่างก็ได้ แต่ความเร็วในการเขียนอาจปรับค่า มากน้อย แล้วแต่ความแรงของเครื่อง ช่อง Disc name ตั้งชื่อตามใจชอบ ตัวเลือก Verify... และ Allow files ... ไม่ต้องคลิกเลือก
12. การเขียนซีดีรวมเพลงแบบ WMA และ MP4 ก็ปฏิบัติคล้ายกันกับการเขียนซีดีรวมเพลง MP3

การเขียนซีดีเพลงแบบออดิโอซีดี

การเขียนซีดีเพลงในลักษณะนี้ อาจแยกเป็นสองกรณี
1. นำไฟล์เพลง MP3 ที่มีอยู่แล้วในเครื่องไปเขียนเป็นออดิโอซีดี วิธีนี้สะดวกกว่า เพราะหา เพลงได้ง่ายกว่า เพราะเพลง MP3 มีขายกันเกลื่อน ตามตลาดสดก็ยังหาซื้อได้เลย
2. ก็อปปี้เพลงจากแผ่นซีดีเพลง แล้วเขียนลงซีดีแผ่นใหม่ ต้องยอมรับว่าในแต่ละอัลบัม จะมี เพลงเพราะๆ ไม่กี่เพลงเท่านั้น เผลอๆ เพราะอยู่เพลงเดียวก็มี ก็จัดการก็อปปี้มารวมไว้ด้วยกันเสียเลย ไม่ต้องพกพาหลายแผ่น วิธีนี้ยุ่งยากกว่าการใช้ไฟล์เพลง MP3
ตัวอย่างการเขียนแผ่นซีดีเพลงแบบออดิโอ
ก่อนอื่นก็รวบรวมเพลงแบบ MP3 หรือ Wma หรือ MP4 แผ่นหนึ่งก็เก็บได้ประมาณ 16-20 เพลง
1. แล้วก็เข้าโปรแกรม Nero Express คลิกคำสั่ง Music>>Audio CD

2. คลิกปุ่ม Add แล้วคลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ได้เก็บไฟล์เพลงไว้
3. เลือกไฟล์เพลงที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Add
4. เลือกครบแล้ว ก็คลิกปุ่ม Close
5. สามารถทดลองฟังเพลงที่ต้องการได้ โดยคลิกชื่อเพลง แล้วคลิกปุ่ม Play
6. คลิกติ๊กถูก Normalize all audio files เพื่อปรับให้ทุกเพลง มีเสียงในระดับเดียวกัน
7. No pause between tracks ถ้าต้องการให้เล่นเพลงอย่างต่อเนื่อง เล่นเพลงแรกจบก็เล่น เพลงที่สองต่อทันที ก็คลิกติ๊กถูก คำสั่งนี้
8. ชื่อเพลงสามารถเรียงลำดับก่อนหลังได้ โดยลากชื่อเพลงขึ้นข้างบนหรือลงด้านล่าง
9. การกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติม ให้เลือกเพลงทั้งหมดก่อน (หรือจะคลิกเลือกเฉพาะ เพลงที่ต้องการก็ได้) โดยคลิกเพลงแรก กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วคลิกเพลงสุดท้าย เพื่อสร้างแถบสี เป็นการเลือกเพลง
10. คลิกปุ่ม Properties
11. ในแท็ป Track Properties เป็นการกำหนดคุณสมบัติให้เพลง เช่น
Title ชื่ออัลบัม
Artist ชื่อนักร้อง
Pause ระยะเวลาที่ต้องการให้หยุดหลังจากเล่นจบแล้ว จากตัวอย่างจะหยุดก่อน 2 วินาที แล้ว จึงเริ่มเล่นเพลงถัดไป
12. ในกรณีที่คลิกเลือกเพื่อกำหนดค่าทีละเพลง ในข้อที่ 9 คลิกเลือกเพลงเดียวแล้วคลิกปุ่ม Properties ก็จะปรากฏกรอบข้อความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ในช่อง Title ก็พิมพ์ชื่อเพลงลงไป ส่วน Artist ก็พิมพ์ชื่อนักร้องหรือชื่ออัลบัม
13. คลิกแท็ป Indexes, Limits, Split ในส่วนนี้จะยอมให้เราตัดแบ่งบางส่วนของเพลง แยกเป็นแทรกๆ ได้ วิธีนี้จะเหมาะสำหรับเพลงที่มีความยาวมากๆ การแบ่งเป็นช่วงๆ จะช่วยให้สะดวก ในการเลือกฟังเฉพาะส่วนที่ต้องการ ถ้าจะทำแบบนี้เหมาะจะใชักับบทบรรยายมากกว่า การตัดแบ่งเพลง ดูจะเป็นเรื่องที่ทำให้เสียอารมณ์เพราะเพลงไม่ต่อเนื่อง ควรทำแบบนี้กับแผ่นที่เป็นบทพูดจะดีกว่า เพราะ จะสะดวกในการย้อนไปฟังส่วนต่างๆ ได้ ไม่อย่างนั้นก็ต้องฟังใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ต้น
14. การตัดก็คลิกตำแหน่งที่ต้องการ อาจทดลองฟังเสียงโดยคลิกปุ่ม Play
15. คลิกปุ่ม New Index แล้วคลิก Split
16. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
17. การลบ Index ก็คลิกเลือกในช่อง Position แล้วก็คลิกปุ่ม Delete
18. คลิกแท็ป Filters
19. คลิกติ๊กถูกเลือกฟิลเตอร์ที่ต้องการ สามารถทดสอบการทำงานได้โดยคลิกปุ่ม Test Selected Filters เช่น Karaoke เป็นฟิลเตอร์ที่ช่วยลดเสียงร้องให้เบาลง เหมาะสำหรับทำแผ่นคาราโอเกะ ไว้ร้องเอง
20. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
21. เพลงใดที่ได้แบ่งหรือ Split ไว้ ก็จะถูกแยกมากกว่าหนึ่งแทร็ค คลิก Play ลองฟังได้
22. ถ้ามีเพลงใดที่ไม่ต้องการ อยากจะลบออกก็คลิกชื่อเพลงแล้วคลิกปุ่ม Delete
23. พร้อมจะเขียนลงแผ่นแล้วก็คลิกปุ่ม Next
?
24. พิมพ์รายละเอียดอื่นๆ ลงไป เช่น Title พิมพ์ชื่ออัลบัมลงไปก็ได้
25. Artist ก็พิมพ์ชื่อนักร้อง
26. จำนวนก็อปปี้ต้องการกี่ชุดก็พิมพ์ลงไป
27. ความเร็วในการเขียนแผ่นซีดี แนะนำให้เลือกน้อยๆ ดูก่อน เพราะการเขียนซีดีแบบนี้ จะใช้การบีบอัดสูง เสียงเพลงอาจกระตุกได้ แต่ซีดีไรเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะไม่ค่อยมีปัญหา อาจกำหนดไว้ไม่เกิน 16x แล้วลองเขียนดูก่อน แล้วก็ค่อยขยับไปที่ความเร็วสูงกว่านั้น เอาแผ่นที่ได้ไป ลองเล่น ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่
28. Write Method คลิกเลือก Disc-at-once
29. ใส่แผ่นซีดีเข้าไปให้เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนซีดีได้เลย

การเขียนแผ่นวีดีโอซีดี

รวมไฟล์วิดีโอเขียนเป็นวีซีดีส่วนตัว
เป็นการนำไฟล์วิดีโอที่มีอยู่ นำมาเขียนลงแผ่นซีดีทำเป็นวีซีดีส่วนตัว
1. คลิกที่ Video/Picture
2. คลิกปุ่ม Add
3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์วิดีโอ เช่น จากตัวอย่างเก็บไว้ใน TempCDRW
4. คลิกเลือกไฟล์วีดีโอที่ต้องการ
5. เลือกครบแล้วคลิกปุ่ม Add
6. คลิกปุ่ม OK เพื่อเข้ารหัสให้ได้มาตรฐานการทำวีซีดี สำหรับวิดีโอบางไฟล์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
7. เพิ่มครบแล้วก็คลิกปุ่ม Close
8. ไฟล์วิดีโอที่ได้เพิ่มเข้ามา
9. คลิกติ๊กถูก Enable VCD Menu เพื่อให้แสดงเมนูด้วย
10. คลิกชื่อไฟล์วีดีโอ
11. คลิกปุ่ม Properties
12. คลิกแท็ป Menu
13. คลิกช่อง Title พิมพ์ชื่อวีดีโอนั้นๆ ตั้งชื่อตามโอกาสที่ได้ถ่ายวิดีโอเก็บไว้ก็ได้ พอเห็นชื่อ ก็จะนึกออก ว่าเป็นวิดีโอเกี่ยวกับอะไร
14. ลากแถบสไลด์เลื่อนไปยังฉากที่ต้องการ ภาพที่ได้นี้จะถูกนำไปแสดงบนเมนู
15. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
16. ให้ปฏิบัติแบบเดียวกันจนครบทุกไฟล์
17. คลิกปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนการเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดี
วีซีดีรวมเพลงคาราโอเกะ
ใครที่ชอบร้องเพลงคาราโอเกะก็สามารถรวมเฉพาะเพลงโปรดมาไว้ด้วยกันได้
1. ใส่แผ่นวีซีดีคาราโอเกะเข้าไป
2. ปกติจะปรากฏหน้าจอแสดงข้อมูลภายในแผ่น ถ้าไม่ปรากฏหน้าจอคล้ายกับตัวอย่าง ก็เข้า โปรแกรม Windows Explorer แล้วคลิกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นซีดีเข้าไป จากนั้นดับเบิ้ลคลิกโฟลเดอร์ชื่อ MPEGAV
3. เลือกไฟล์คาราโอเกะที่ต้องการ ต้องการมากกว่าหนึ่งไฟล์ ก็คลิกไฟล์แรกก่อน กดปุ่ม Ctrl ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการทั้งหมด ครบแล้วปล่อยปุ่ม Ctrl
4. ชี้ลูกศรที่ไฟล์ใดไฟล์หนึ่งที่ได้เลือกไว้ แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด จากนั้นคลิก ที่ Send To>>tempCDRW
5. เข้าโปรแกรม Nero Express
6. คลิก Video/Picture
7. คลิกปุ่ม Add
8. เลือกเพลงในโฟลเดอร์ TempCDRW
9. เพิ่มเพลง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Close
10. ไฟล์วิดีโอก็จะถูกเพิ่มเข้าไป รอเขียนลงแผ่นซีดี
11. ส่วนไฟล์วิดีโอที่ไม่ได้มาตรฐานของการทำแผ่นวีซีดี ก็เข้ารหัสใหม่โดยคลิกปุ่ม OK
12. ติ๊กถูก Enable VCD Menu แสดงเมนูด้วย
13. ไฟล์วิดีโอที่ถูกเพิ่มเข้ามา คลิกชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม Properties เพื่อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไฟล์วิดีโอนั้นๆ
14. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนซีดีต่อไป
การปรับแต่งเมนูของ VCD 
เมนูของ VCD จะเป็นส่วนที่ปรากฏ เมื่อใส่แผ่นวีซีดีเข้าไป โดยจะมีรายชื่อวีดีโอให้เลือก เพื่อ ดูเฉพาะวีดีโอที่ต้องการ
เราสามารถปรับแต่งส่วนต่างๆ ได้ 3 ส่วนด้วยกัน
1. Layout เป็นโครงร่างโดยรวมของเมนู เช่นแสดงวิดีโอกี่ภาพในหนึ่งหน้าจอ
2. Background เป็นส่วนพื้นหลังของเมนู ปรับแต่งได้
3. Text เป็นข้อความที่ปราฏบนเมนู สามารถปรับแต่งได้
4. เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม Show full screen menu เพื่อดูผลงาน
การก็อปปี้แผ่นซีดี
เกี่ยวกับการเขียนซีดี การก็อปปี้แผ่นจะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ปีๆ หนึ่งก็อปปี้กันเป็นล้าน
1. คลิกที่ Image, Project, Copy
2. คลิก Copy Entire CD
3. ในส่วน Source drive ให้คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับเข้าไป
4. ในส่วน Destination drive ให้คลิกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นเปล่าสำหรับก็อปปี้เข้าไป ถ้าในเครื่อง มีไดรว์เดียว ก็คลิกเลือกชื่อไดรว์ชื่อเดียวกับในช่อง Source drive ถ้าโปรแกรมอ่านข้อมูลในแผ่นต้น ฉบับเสร็จแล้ว ก็จะดีดแผ่นออกมา ก็ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปแทน แต่ถ้ามี 2 ไดรว์ ก็จะเขียนข้อมูลลงแผ่น เปล่าที่อยู่ในอีกไดรว์
5. ตัวเลือก Quick copy สำหรับเครื่องที่มี 2 ไดรว์ มีเครื่องเขียน 2 ตัว อาจคลิกเลือกคำสั่ง นี้ ซึ่งจะทำการเขียนลงแผ่นจากต้นฉบับลงแผ่นซีดีโดยตรง ไม่มีการสร้างเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ก่อน ผล อาจจะไม่ดีนัก ต้องทดลองเอง
6. ในส่วน Writing speed ถ้าเป็นการก็อปปี้ข้อมูลจำพวก แผ่นเพลงออดิโอ แผ่นวีซีดีให้ เขียนที่ความเร็วน้อยๆ แน่นอนกว่า ช้าหน่อยแต่นำไปใช้กับเครื่องเล่นตามบ้าน แล้วไม่มีกระตุก
7. พร้อมแล้วก็คลิกปุ่ม Copy

การสร้างอิมเมจไฟล์ด้วย Nero Express

จะเป็นการก็อปปี้ข้อมูลในแผ่นซีดีซึ่งอาจเป็นแผ่นซีดีเพลง แผ่นหนัง แผ่นข้อมูล ฯลฯ เป็น อิมเมจไฟล์ไว้ในเครื่อง แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอิมเมจไฟล์แบบใดก็ตาม หลักการคล้ายกัน คือคลิกเลือก เครื่องเขียนซีดีให้เป็น Image Recorder เสร็จแล้วก็ต้องคลิกเลือกเครื่องเขียนซีดีตามปกติ
1. คลิกเลือก Use New Image Recorder
2. คลิก Image, Project, Copy
3. คลิกที่ Copy Entire CD
4. คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับไว้
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Copy เริ่มสร้างอิมเมจไฟล์
6. จะปรากฏกรอบข้อความ ให้ตั้งชื่อไฟล์ พิมพ์ชื่อลงไป แล้วคลิกปุ่ม Save หลังเสร็จขั้นตอน การสร้าง ก็จะได้ไฟล์แบบ nrg

นำอิมเมจไฟล์ไปเขียนลงแผ่นซีดี 

อิมเมจไฟล์ที่ได้จะเป็นไฟล์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการนำไปใช้งานก็จัดการเขียน ลงแผ่นซีดีเปล่า
1. คลิก Image, Project, Copy
2. คลิกที่ Disc Image or Save Project
3. คลิกเลือกอิมเมจไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Open
4. ใส่แผ่นซีดีเปล่าเข้าไป
5. คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีเข้าไป
6. คลิกปุ่มแสดงคำสั่งเพิ่มเติม
7. กำหนดค่าต่างๆ ตามต้องการ
8. คลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนซีดี

การเขียนแผ่นดีวีดีด้วย Nero Express
เขียนแผ่นดีวีดีข้อมูล 

เป็นลักษณะการนำข้อมูลไปเขียนลงแผ่นดีวีดี ถ้าข้อมูลมีจำนวนมากเกิน 700 MB ก็ควรเขียน ลงแผ่นดีวีดี จะคุ้มกว่า ราคาแผ่นตอนนี้ก็อยู่ประมาณ 10 บาทขึ้นไป
1. คลิกเลือก Data>>Data DVD
2. คลิกปุ่ม Add
3. เลือกข้อมูลที่ต้องการ
4. คลิกปุ่ม Add
5. เลือกไฟล์ครบแล้วคลิกปุ่ม Close
6. ข้อมูลที่ได้เพิ่มเข้ามา
7. คลิกปุ่ม Next
?
8. คลิกและพิมพ์ชื่อแผ่น ในช่อง Disc name
9. ในช่อง Current recorder คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นดีวีดีเปล่าเข้าไป
10. คลิกปุ่มแสดงตัวเลือกเพิ่มเติม
11. กำหนดความเร็วในการเขียนแผ่นและค่าอื่นๆ ตามต้องการ
12. คลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น

เขียนแผ่นดีวีดีรวมเพลง MP3, WMA หรือ MP4

เป็นการรวบรวมเพลงทั้ง MP3, WMA, MP4 แล้วเขียนลงแผ่นดีวีดี จะทำเป็นแผ่นดีวีดีรวม เฉพาะเพลง MP3 อย่างเดียวหรือผสมกันก็ได้ ขั้นอยู่กับเครื่องเล่นว่าสามารถเล่นไฟล์แบบใดได้บ้าง
1. คลิก Music
2. คลิกที่ Jukebox Audio DVD
3. คลิกปุ่ม Add
4. โปรแกรมจะเพิ่มเพลงเข้าไป
5. เลือกเพลงครบแล้ว ก็คลิกปุ่ม Close
6. คลิกปุ่ม Next เข้าสู่ขั้นตอนการเขียนแผ่น
7. กำหนดค่าต่างๆ ในการเขียน แล้วคลิกปุ่ม Burn เริ่มเขียนแผ่น การเขียนแบบนี้จะกำหนด ความเร็วสูงสุดเท่าที่เครื่องเขียนสามารถทำได้ ก็ไม่เป็นไร เพราะข้อมูลไม่มีการบีบอัด จึงไม่ค่อยมีผล ต่อการฟังเท่าไร แต่ถ้าเอาไปฟังกับเครื่องเล่น DVD แล้วเกิดอาการกระตุก เสียงสะดุด ก็เขียนที่ความ เร็วต่ำๆ กว่านั้น
8. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

การก็อปปี้แผ่น DVD

อาจเป็นการก็อปปี้แผ่นหนังหรือแผ่นข้อมูลวิธีการก็คล้ายๆ กัน
1. ใส่แผ่นดีวีดีต้นฉบับเข้าไปในช่องอ่าน
2. คลิก Image, Project, Copy
3. คลิกที่ Copy Entire DVD
4. คลิกเลือกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นดีวีดีต้นฉบับเข้าไป
5. คลิกเลือกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นเปล่าเข้าไป ถ้าในเครื่องมีเครื่องเขียนดีวีดีตัวเดียว ก็คลิกเลือก ไดรว์เดียวกับในข้อที่ 4 เมื่อโปรแกรมอ่านข้อมูลในแผ่นดีวีดีต้นฉบับเสร็จแล้ว ก็จะดีดแผ่นออก ให้ ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปก่อน
6. คลิกเลือกความเร็วในการเขียนแผ่น ถ้าเป็นการก็อปปี้แผ่นดีวีดีเพลง หนัง ก็ควรเลือกที่ ความเร็วต่ำๆ ไว้ก่อน
7. คลิกปุ่ม Copy เริ่มทำงาน
8. โปรแกรมจะเริ่มต้นก็อปปี้ข้อมูลในแผ่นต้นฉบับเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ในเครื่อง แล้วจะดีด แผ่นต้นฉบับออกมา
9. ก็ใส่แผ่นดีวีดีเปล่าเข้าไป เพื่อเริ่มก็อปปี้

การสร้างอิมเมจไฟล์สำหรับการเขียนแผ่นดีวีดี

วิธีการก็ไม่ต่างไปจากการสร้างอิมเมจไฟล์ ในกรณีของการเขียนแผ่นซีดี เช่น ขณะนั้นกำลัง ก็อปปี้แผ่นดีวีดี แล้วแผ่นก็เกิดหมดพอดี ก็สามารถสร้างเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ก่อนได้ แล้วก็เขียนลงแผ่น ดีวีดี ในภายหลัง
1. คลิกเลือกไดรว์ สำหรับเขียนแผ่นเป็น Image Recorder
2. เมื่อคลิกปุ่ม Burn ก็จะปรากฏกรอบข้อความให้ตั้งชื่อไฟล์ พิมพ์ชื่อลงไปแล้วคลิก Save
3. หลังจากนั้นก็จะได้ไฟล์แบบ nrg